ท่่ารำจาก ทรูปลูกปัญญา

วันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ขุนช้างขุนแผน

ความเป็นมาของเรื่องขุนช้างขุนแผน


เรื่องขุนช้างขุนแผนนี้ เป็นนิยายพื้นบ้านของสุพรรณบุรี ที่แต่งขึ้นจากเรื่องจริง ที่เกิดขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ซึ่งมีหลักฐานอยู่ ในหนังสือคำให้การชาวกรุงเก่า โดยแต่งเป็นบทกลอนสำหรับขับเสภา ให้ประชาชนฟัง เมื่อมาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ที่มีผู้แต่งไว้ตั้งแต่งสมัยกรุงศรีอยุธยานั้น เหลืออยู่เพียงบางตอนเท่านั้น เพราะถูกไฟไหม้และสูญหายไป เมื่อครั้งเสียกรุงกับพม่า พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยฯ ให้กวีหลายท่าน เช่น พระองค์ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (รัชกาลที่ ๓ ) สุนทรภู่ ครูแจ้ง เป็นต้นให้ช่วยกันแต่งเพิ่มเติมขึ้น โดยแบ่งกันแต่งเป็นตอน ๆ ไปจนจบเรื่อง

ขุนช้างขุนแผนเป็นเรื่องที่ได้รับยกย่องจากวรรณคดีสโมสร ในสมัยรัชกาลที่ ๖ ว่าเป็นยอดของหนังสือประเภทกลอนเสภา มีสำนวนโวหารที่ไพเราะคมคาย มีคติเตือนใจ สะท้อนให้เห็นสภาพชีวิตและสังคมความเป็นอยู่ของคนไทย ให้ความรู้เกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมไทย และยังให้ความสนุกสนานเพลิดเพลินอีกด้วย

ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมต่างๆ
ความเชื่อทางโชคลาง
สำนวนโวหารและคติสอนใจจากเรื่อง
อารมณ์ขันของกวี


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น