ท่่ารำจาก ทรูปลูกปัญญา

วันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การละเล่นเด็กไทย


การเล่นกับเด็กเป็นของคู่กันมาตั้งแต่กาลครั้งไหน คงไม่มีใครทราบได้ แต่การเล่นก็เป็นเรื่องที่สืบ เนื่องแสดงถึงเอกลักษณ์ของชนชาติหรือท้องถิ่นเป็นเรื่องที่ถ่ายทอดเข้าสู่กระแสชีวิตและตกทอดกันมาตั้งแต่ รุ่นปู่ย่าตายายของปู่ย่าตายายโน่น เอาตั้งแต่เมื่อเราเกิดมาลืมตาดูโลกก็คงจะได้เห็นปลาตะเพียนที่ผู้ใหญ่แขวน ไว้เหนือเปลให้เด็กดู “เล่น” เป็นการบริหารลูกตา แหวกว่ายอยู่ในอากาศแล้ว พอโตขึ้นมาสัก 3-4 เดือน ผู้ใหญ่ก็จะสอนให้เล่น “จับปูดำ ขยำปูนา” “แกว่งแขนอ่อน เดินไว ๆ ลูกร้องไห้ วิ่งไปวิ่งมา” โดยที่จะคิดถึงจุดประสงค์อื่นใดหรือไม่สุดรู้ แต่ผลที่ตามมานั้นเป็นการหัดให้เด็กใช้กล้ามเนื้อมือ กล้ามเนื้อแขนประสานกับสายตา



การละเล่นเป็นการส่งเสริมให้เด็ก ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และเป็นกิจกรรมที่แฝงไว้ ด้วยสัญลักษณ์ หากศึกษาการเล่นของเด็กในสังคม เท่ากับได้ศึกษาวัฒนธรรมของสังคมนั้นด้วย การละเล่นของเด็กไทย มีความหลากหลาย เช่น หมากเก็บ ว่าว โพงพาง รีรีข้าวสาร เป็นต้น



การละเล่นของเด็กแบบไทย ๆ มีมาตั้งแต่เมื่อไร

ชนชาติไทยมีมาตั้งแต่เมื่อไร การละเล่นแบบไทย ๆ ก็น่าจะมีมาแต่เมื่อนั้นแหละ ถ้าจะเค้นให้เห็นกันเป็นลายลักษณ์อักษร ก็คงต้องขุดศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง มาอ้างพอเป็นหลักฐานได้ราง ๆ ว่า

“..ใครจักมักเล่น เล่น ใครจักมักหัว หัว ใครจักมักหัว หัว ใครจักมักเลื่อน เลื่อน...”
ในตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ มีการกล่าวถึงการละเล่นของคนสมัยนั้นว่า
“...เดือนยี่ถึงการพระราชพิธีบุษยาภิเษก เถลิงพระโค กินเลี้ยงเป็นนักขัตฤกษ์ หมู่นางในก็ได้ดูชุดชักว่าวหง่าวฟังสำเนียง เสียงว่าว ร้องเสนาะลั่นฟ้าไปทั้งทิวาราตรี...”
ในสมัยอยุธยา บทละครกรุงเก่าได้กล่าวถึงการละเล่นบางอย่างที่คุณคงจะคุ้นเคยดีเมื่อสมัยยังเด็ก คือลิงชิงหลักและปลาลงอวน ในบทที่ว่า
“เมื่อนั้น โฉมนวลพระพี่ศรีจุลา ว่าเจ้าโฉมตรูมโนห์รา มาเราจะเล่นกระไรดี เล่นให้สบายคลายทุกข์ เล่นให้สนุกในวันนี้ จะเล่นให้ขันกันสักทีเล่นให้สนุกกันจริงจริง มาเราจะวิ่งลิงชิงเสา ช้างโน้นนะเจ้าเป็นแดนพี่ ช้างนี้เป็นแดนเจ้านี้ เล่นลิงชิงเสาเหมือนกัน ถ้าใครวิ่งเร็วไปข้างหน้า ถ้าใครวิ่งช้าอยู่ข้างหลัง เอาบัวเป็นเสาเข้าชิงกัน ขยิกไล่ผายผันกันไปมา
เมื่อนั้น โฉมนวลพระพี่ศรีจุลา บอกเจ้าโฉมตรูมโนห์รา มาเราจะเล่นปลาลงอวน บัวผุดสุดท้องน้องเป็นปลา ลอยล่องท่องมาเจ้าหน้านวลจะขึงมือกันไว้เป็นสายอวน ดักท่าหน้านวลเจ้าล่องมา ออกหน้าที่ใครจับตัวได้ คุมตัวเอาไว้ว่าได้ปลา
ในเรื่อง “อิเหนา” วรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์ก็ปรากฏการละเล่นหลายอย่าง เช่น ตะกร้อ จ้องเต ขี่ม้าส่งเมือง ดังว่า

“...บ้างตั้งวงเตะตะกร้อเล่น
เพลาเย็นแดดร่มลมสงัด
ปะเตะโต้คู่กันเป็นสันทัด
บ้างถนัดเข้าเตะเป็นน่าดู
ที่หนุ่มหนุ่มคะนองเล่นจ้องเต
สรวลเสเฮฮาขึ้นขี่คู่
บ้างรำอย่างชวามลายู
เป็นเหล่าเหล่าเล่นอยู่บนคิรี”

หรือในขุนช้างขุนแผนกก็กล่าวถึงการละเล่นไม้หึ่งไว้ว่า
“...เมื่อกลางวันยังเห็นเล่นไม้หึ่ง
กับอ้ายอึ่งอีดูกลูกอีมี
แล้วว่าเจ้าเล่าก็ช่างนั่งมึนมี
ว่าแล้วซิอย่าให้ลงในดิน”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น