ท่่ารำจาก ทรูปลูกปัญญา

วันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

วันลอยกระทง
วันลอยกระทง เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของชาวไทย ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย ตามปฏิทินจันทรคติล้านนามักจะ ตกอยู่ในราวเดือนพฤศจิกายน ตามปฏิทินสุริยคติ ประเพณีนี้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อพระแม่คงคา บางหลักฐานเชื่อว่าเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที และบางหลักฐานก็ว่าเป็นการบูชาพระอุปคุตอรหันต์หรือพระมหาสาวก สำหรับประเทศไทยประเพณีลอยกระทงได้กำหนดจัดในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ติดกับแม่น้ำ ลำคลอง หรือ แหล่งน้ำต่าง ๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจแตกต่างกันไป

ในวันลอยกระทง ผู้คนจะพากันทำ "กระทง" จากวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ตบแต่งเป็นรูปคล้ายดอกบัวบาน ปักธูปเทียน และนิยมตัดเล็บ เส้นผม หรือใส่เหรียญกษาปณ์ลงไปในกระทง แล้วนำไปลอยในสายน้ำ (ในพื้นที่ติดทะเล ก็นิยมลอยกระทงริมฝั่งทะเล) เชื่อว่าเป็นการลอยเคราะห์ไป นอกจากนี้ยังเชื่อว่าการลอยกระทง เป็นการบูชาพระแม่คงคาด้วย

เดิมเชื่อกันว่าประเพณีลอยกระทงเริ่มมีมาแต่สมัยสุโขทัย ในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง โดยมีนางนพมาศ เป็นผู้ประดิษฐ์กระทงขึ้นครั้งแรก โดยแต่เดิมเรียกว่าพิธีจองเปรียง ที่ลอยเทียนประทีป และนางนพมาศได้นำดอกโคทม ซึ่งเป็นดอกบัวที่บานเฉพาะวันเพ็ญเดือนสิบสองมาใช้ใส่เทียนประทีป แต่ปัจจุบันมีหลักฐานว่าไม่น่าจะเก่ากว่าสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยอ้างอิงหลักฐานจากภาพจิตรกรรมการสร้างกระทงแบบต่างๆ ในสมัยรัชกาลที่ 3

ปัจจุบันวันลอยกระทงเป็นเทศกาลที่สำคัญของไทย ที่มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศมาเที่ยวปีละมากๆ ทั้งนี้ในช่วงเวลาดังกล่าวมักจะเป็นช่วงต้นฤดูหนาว และมีอากาศดี

ในวันลอยกระทง ยังนิยมจัดประกวดนางงาม เรียกว่า "นางนพมาศ"

ปล.อยากเป็นนางนพมาศจัง 555+


10:27

วันมาฆบูชา


"มาฆะ" เป็นชื่อของเดือน 3 มาฆบูชานั้น ย่อมาจากคำว่า "มาฆบุรณมี" หมายถึง การบูชาพระในวันเพ็ญกลางเดือนมาฆะตามปฏิทินของอินเดีย หรือเดือน 3 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย วันมาฆบูชาจึงตรงกับวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 3 แต่ถ้าปีใดมีเดือน อธิกมาส คือมีเดือน 8 สองครั้ง วันมาฆบูชาก็จะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 และมักตกอยู่ในเดือนกุมภาพันธ์หรือมีนาคม

วันมาฆบูชาเป็นวันสำคัญวันหนึ่งในวันพุทธศาสนา เพราะเป็นวันที่มีการประชุมสังฆสันนิบาตครั้งใหญ่ในพุทธศาสนา ที่เรียกว่า"จาตุรงคสันนิบาต" โดยคำว่า "จาตุรงคสันนิบาต" แยกศัพท์ได้ดังนี้

จาตุร แปลว่า 4
องค์ แปลว่า ส่วน
สันนิบาต แปลว่า ประชุม

ฉะนั้น "จาตุรงคสันนิบาต" จึงหมายความว่า "การประชุมด้วยองค์ 4" ทั้งนี้ วันมาฆบูชา เป็นวันที่ระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นพร้อมกันในสมัยพุทธกาล 4 อย่าง จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าจาตุรงคสันนิบาต คือ

1. พระสงฆ์ 1,250 รูป มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้มีการนัดหมาย

2. ท่านเหล่านั้นล้วนเป็นเอหิภิกขุ คือได้รับอุปสมบทจากพระพุทธเจ้า

3. ท่านเหล่านั้นเป็นอรหันต์ทั้งสิ้น

4. วันที่ประชุมเป็นวันเพ็ญกลางเดือนมาฆะ หรือเดือน 3

ทั้งนี้ "วันมาฆบูชา" ยังเป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดง "โอวาทปฎิโมกข์" แก่พระสงฆ์สาวกเป็นครั้งแรกหลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว 9 เดือน ณ เวฬุวันวิหาร กรุงราชคฤห์ เพื่อให้พระสงฆ์นำไปประพฤติปฏิบัติ เพื่อจะยังพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป

โอวาทปาติโมกข์ คือ ข้อธรรมย่ออันเป็นหลักหรือหัวใจสำคัญของพระพุทธศาสนา 3 ประการ ได้แก่

1. ไม่ทำความชั่วทั้งปวง เว้นจากความชั่วด้วยกาย วาจา ใจ

2. ทำความดีให้ถึงพร้อม ด้วยกาย วาจา ใจ

3. ทำจิตใจให้หมดจดบริสุทธิ์ผ่องใส

นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2549 รัฐบาลไทยประกาศให้ "วันมาฆบูชา" เป็น "วันกตัญญูแห่งชาติ" อีกด้วย

ประวัติการประกอบพิธีมาฆบูชา

พิธีทำบุญวันมาฆบูชานี้ ไม่ปรากฎหลักฐานว่ามีมาในสมัยใด อย่างไรก็ตาม ในหนังสือ "พระราชพิธีสิบสองเดือน" อันเป็นบทพระราชนิพนธ์ของ "พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" มีเรื่องราวเกี่ยวกับการประกอบราชกุศลมาฆบูชาไว้ดังนี้

ในอดีตมาฆบูชานี้แต่เดิมไม่เคยทำกัน เพิ่งเกิดขึ้นในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงเห็นความสำคัญของวันมาฆะ จึงโปรดให้ให้มีพระราชพิธีประกอบการขึ้นในวัดพระศรีรัตรนศาสดาราม เมื่อปี พ.ศ. 2394 และกระทำสืบไปตลอดกาล

ต่อมาพิธีในวันมาฆบูชาก็ได้แพร่หลาย และประกอบพิธีกันทั่วราชอาณาจักร ทางรัฐบาลจึงประกาศให้เป็นวันหยุดทางราชการด้วย เพื่อให้ประชาชนจากทุกสาขาอาชีพได้ไปวัด เพื่อทำบุญกุศลและประกอกิจกรรมทางศาสนา

กิจกรรมต่างๆ ที่ควรปฏิบัติในวันมาฆบูชา

1. ทำบุญใส่บาตร

2. ไปวัดเพื่อปฏิบัติธรรม และฟังพระธรรมเทศนา

3. ไปเวียนเทียนที่วัด

4. ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ราชการ

การค้าขาย

การค้าขาย หรือ การค้า (trade) หมายถึง การตกลงแลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการ หรือทั้งสองอย่าง การค้าขายสามารถเรียกได้อีกชื่อหนึ่งคือ การค้าขายเชิงพาณิชย์ (commerce) กลไกหรือสถานที่ที่สามารถมีการค้าขายเรียกว่าตลาด รูปแบบเริ่มต้นของการค้าขายคือ การยื่นหมูยื่นแมว ซึ่งหมายถึงการแลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการโดยตรงระหว่างผู้ค้า ปัจจุบันนี้ โดยทั่วไปผู้ค้าสมัยใหม่ใช้การเจรจาต่อรองด้วยสิ่งแลกเปลี่ยน ซึ่งนั่นก็คือเงินตรา

[แก้] พัฒนาการของเงินตราการใช้เงินตราเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ในยุคสมัยแรก ๆ นั้นคือการแลกเปลี่ยนด้วยสินค้าที่มีค่า เช่น หมู, เปลือกหอย, วัว ในประเทศอิรัก มีหลักฐานว่าขนมปังถูกนำมาใช้แทนเงินตรา และในประเทศเม็กซิโกก็ใช้ถั่วแทนเงินตรา เมื่อการค้าแพร่หลายมากขึ้นมนุษย์ก็เริ่มใช้โลหะแทนเงินตรา

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

การปรูกป่า

ขั้นตอนการปลูกต้นไม้

ขั้นตอนการดำเนิน การปลูกต้นไม้ ควรปฏิบัติในช่วงฤดูฝนจะได้ผลดีที่สุด โดย :

1. การเตรียมพื้นที่ปลูก ก่อนที่จะเตรียมแปลงปลูกต้นไม้ควรตัดสินใจว่าจะปลูกต้นไม้เพื่ออะไร ปลูกต้นไม้ชนิดไหน และระยะปลูกเท่าไร

วัตถุประสงค์การปลูก

ก. ปลูกเพื่อเศรษฐกิจ หมายถึง การปลูกป่าเพื่อหวังผลตอบแทนจากการปลูกในลักษณะของการนำผลผลิตจากสวนป่าออกมาจำหน่ายเป็นรายได้ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ไม้ซุง ไม้แปรรูป เสาเข็ม และเยื่อกระดาษ เป็นต้น ชนิดพันธุ์ไม้ที่เหมาะสมสำหรับเสาเข็ม ฟืน ถ่าน และเยื่อกระดาษ อายุตัดฟันประมาณ 5 - 15 ปี เช่น ยูคาลิปตัส กระถิน เทพา สนทะเล ไม้ไผ่ชนิดต่าง ๆ เป็นต้น ชนิดพันธุ์ไม้ที่เหมาะสมสำหรับเป็นไม้ซุง ไม้แปรรูป อายุตัดฟัน 15 - 30 ปี เช่น สัก ประดู่ ยาง แดง มะค่าโมง เป็นต้น

ข. ปลูกเพื่อการอนุรักษ์ หมายถึง การปลูกป่าที่หวังผลในการรักษาต้นน้ำลำธาร ป้องกันดินพังทลาย และเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ เป็นต้น ชนิดพันธุ์ไม้ที่เหมาะสมสำหรับปลูกสร้างสวนป่าอนุรักษ์ เช่น ประดู่ แดง ยาง มะค่าโมง ฯลฯ

ค. อื่น ๆ
ค-1. ปลูกเพื่อไม้ประดับ ชนิดพันธุ์ไม้ที่เหมาะสมเป็นไม้ประดับ เช่น ขี้เหล็ก บ้าน ตะแบก คูน หางนกยูงไทย อินทนิล กาสะลอง กัลปพฤกษ์ ชัยพฤกษ์ ฯลฯ
ค-2. ปลูกเพื่อให้ร่มเงา ชนิดพันธุ์ไม้ที่เหมาะสมสำหรับให้ร่มเงา เช่น จามจุรี หางนกยูง นนทรี อินทนิล มะฮอกกานี ประดู่บ้าน ฯลฯ
ค-3. ปลูกเพื่อเป็นอาหารหรือยา ชนิดพันธุ์ไม้ที่เหมาะสม เช่น สะเดา ขี้เหล็กบ้าน แคบ้าน มะขาม มะม่วงหิมพานต์ ฯลฯ

ก่อนปลูกควรถางวัชพืชและไถพรวนพินถ้าหน้าดินจังตัวกันแข็งมาก



ถ้าพื้นที่ปลูกมีสภาพดินเป็นดินเหนียว หรือลูกรัง ควรจะใส่ปุ๋ยหมักหรือเศษพืช



ถ้าพื้นที่เลือกมามีน้ำท่วงขังในฤดูฝน ควรจะไถยกร่องปลูก เพื่อทำทางระบายน้ำ



หมายเหตุ การปลูกต้นไม้ควรปฏิบัติในช่วงฤดูฝนจะได้ผลดีที่สุด

2. การคัดเลือกกล้าไม้ ควรจะเลือกกล้าไม้แกร่ง และกล้าไม้ที่มีคุณภาพดี



3. การขนส่งกล้าไม้

ถ้าขนย้ายกล้าไม้ไปที่ไกล ๆ ให้คลุมกล้าไม้ด้วยตาข่ายดำ หรือป้องกันแสงแดด



ถ้ากล้าไม้เหี่ยวเฉา...

1. ควรนำกล้าไม้ไปไว้ใต้ร่มเงา



2. ควรทำให้กล้าไม้แกร่งก่อนปลูก

ควรนำกล้าไม้ออกไว้กลางแจ้งก่อนปลูก และรดน้ำน้อยลง เพื่อทำให้กล้าไม้แกร่ง



4. การขุดหลุกปลูก การขุดหลุมปลูกควรให้มีขนาดใหญ่กว่าเบ้าดินของถุงกล้าไม้ เพื่อช่วยให้ระบบรากหาอาหารได้ดีขึ้น



5. การปลูกต้นไม้ ระวังอย่าลืมเอากล้าไม้ออกจากถุงพลาสติก



ถ้าในพื้นที่ปลูกมีสัตว์เลี้ยงเข้ามาทำลายต้นไม้ ควรจะทำรั้วรอบ ๆ แปลงที่ปลูก

ประวัติพระพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้ามีพระนามเดิมว่า "สิทธัตถะ" เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ กษัตริย์ผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ทางภาคใต้ของประเทศเนปาล พระราชมารดาทรงพระนามว่า "พระนางสิริมหามายา" ซึ่งเป็นพระราชธิดาของกษัตริย์ราชสกุลโกลิยวงศ์แห่งกรุงเทวทหะ แคว้นโกลิยะ

เจ้าชายสิทธัตถะประสูติเมื่อ ๘๐ ปีก่อนพุทธศักราช ที่สวนลุมพินีวัน ณ ใต้ต้นสาละนั้น ซึ่งอยู่ระหว่างพรมแดนกรุงกบิลพัสดุ์และกรุงเทวทหะ(ปัจจุบันคือ ต.รุมมินเด ประเทศเนปาล) ได้มีพราหมณ์ทั้ง ๘ ได้ทำนายว่า เจ้าชายสิทธัตถะมีลักษณะเป็นมหาบุรุษ คือ ถ้าดำรงตนในฆราวาสจะได้เป็นจักรพรรดิ ถ้าออกบวชจะได้เป็นศาสดาเอกของโลก แต่โกณฑัญญะพราหมณ์ผู้อายุน้อยที่สุดในจำนวนนั้น ยืนยันหนักแน่นว่า พระราชกุมารสิทธัตถะจะเสด็จออกบวชและจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน

ทันทีที่ประสูติ ทรงดำเนินด้วยพระบาท ๗ ก้าว มีดอกบัวผุดรองรับ ทรงเปล่งพระวาจาว่า "เราเป็นเลิศที่สุดในโลก ประเสริฐที่สุดในโลก การเกิดครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้ายของเรา"

[แก้ไข] วัยเด็ก
หลังประสูติได้ ๗ วัน พระนางสิริมหามายาสิ้นพระชนม์ (เป็นประเพณีของผู้ที่เป็นพระมารดาของพระพุทธเจ้าทีจะต้องสวรรคต)
จึงทรงอยู่ในความดูแลของพระนางปชาบดีโคตมี ซึ่งเป็นพระกนิษฐาของพระนางสิริมหามายา

ศึกษาเล่าเรียนจนจบระดับสูงของการศึกษาทางโลกในสมัยนั้น คือ ศิลปศาสตร์ถึง ๑๘ ศาสตร์ ในสำนักครูวิศวามิตร
พระบิดาไม่ประสงค์จะให้เจ้าชายสิทธัตถะเป็นศาสดาเอก จึงพยายามให้สิทธัตถะพบแต่ความสุขทางโลก เช่น สร้างปราสาท ๓ ฤดู และเมื่ออายุ ๑๖ ปี ได้ให้เจ้าชายสิทธัตถะอภิเษกกับนางพิมพาหรือยโสธรา ผู้เป็นพระธิดาของพระเจ้ากรุงเทวทหะซึ่งเป็นพระญาติฝ่ายพระมารดา
เมื่อมีพระชนมายุ ๒๙ ปี พระนางพิมพาก็ให้ประสูติ ราหุล (บ่วง)
[แก้ไข] เสด็จออกผนวก
เมื่อทอดพระเนตรเห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย และสมณตามลำดับ จึงทรงคิดว่าชีวิตของทุกคนต้องตกอยู่ในสภาพเช่นนั้น ไม่มีใครหลีกเลี่ยงได้ จึงเกิดแนวความคิดว่า
ธรรมดาในโลกนี้มีของคู่กันอยู่ เช่น มีร้อนก็ต้องมีเย็น, มีทุกข์คือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ก็ต้องมีที่สุดทุกข์ คือ ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย
ทรงเห็นความสุขทางโลกเป็นเพียงมายา ความสุขในกามคุณเป็นความสุขจอมปลอม เป็นเพียงภาพมายาที่ชวนให้หลงว่าเป็นความสุขเท่านั้น ในความจริงแล้วไม่มีความสุข ไม่มีความเพลิดเพลินใดที่ไม่มีความทุกข์เจือปน
วิถีทางที่จะพ้นจากความทุกข์ของชีวิตเช่นนี้ได้ หนทางหลุดพ้นจากวัฏสงสาร จะต้องสละเพศผู้ครองเรือนเป็นสมณะ
สิ่งที่ทรงพบเห็นเรียกว่า "เทวทูต(ทูตสวรรค์)" จึงตัดสินพระทัยทรงออกผนวช ในวันที่พระราหุลประสูติเล็กน้อย พระองค์ทรงม้ากัณฐกะออกผนวช มีนายฉันทะตามเสด็จ โดยมุ่งตรงไปที่แม่น้ำอโนมานที ทรงตัดพระเกศา และเปลี่ยนเครื่องทรงเป็นผ้ากาสาวพักตร์ (ผ้าย้อมด้วยรสฝาดแห่งต้นไม้) ทรงเปลื้องเครื่องทรงมอบให้นายฉันนะนำกลับพระนคร การออกบวชครั้งนี้เรียกว่า การเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ (การเสด็จออกเพื่อคุณอันยิ่งใหญ่)
หลังจากทรงผนวชแล้ว จึงทรงมุ่งไปที่แม่น้ำคยา แคว้นมคธ เพื่อค้นคว้าทดลองในสำนักอาฬารดาบส กาลามโครตร และอุทกดาบส รามบุตร เมื่อเรียนจบทั้งสองสำนัก (บรรลุฌาณชั้นที่แปด) ก็ทรงเห็นว่าไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ตามที่มุ่งหวังไว้
จากนั้นจึงเสด็จไปที่แม่น้ำเนรัญชรา ในตำบลอุรุเวลาเสนานิคม (ปัจจุบันนี้สถานที่นี้เรียกว่า ดงคศิริ) เมื่อบำเพ็ญทุกรกิริยา โดยขบฟันด้วยฟัน กลั้นหายใจและอดอาหาร หลังจากทดลองมา ๖ ปี ก็ยังไม่พบทางพ้นทุกข์ จึงทรงเลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา หันมาบำรุงพระวรกายโดยปกติตามพระราชดำริว่า "เหมือนสายพิณควรจะขึงพอดีจึงจะได้เสียงที่ไพเราะ" ซึ่งพระอินทร์ได้เสด็จลงมาดีดพิณถวาย พิณสายหนึ่งขึงไว้ตึงเกินไป พอถูกดีดก็ขาดผึงออกจากกัน จึงพิจารณาเห็นทางสายกลางว่า เป็นหนทางที่จะนำไปสู่พระโพธิญาณได้

ระหว่างที่ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา ปัญจวัคคีย์ (โกญฑัญญะ วัปปะ ภัททิยา มหานามะ อัสสชิ) มาคอยปรนนิบัติพระองค์โดยหวังว่าจะทรงบรรลุธรรมวิเศษ เมื่อพระองค์เลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา ปัญจวัคคีย์จึงหมดศรัทธา พากันไปอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี (ต.สารนาถ)

[แก้ไข] ตรัสรู้

ขณะมีพระชนมายุได้ ๓๕ พรรษา ในวันที่พระองค์ตรัสรู้ นางสุชาดาได้ถวายข้าวมธุปายาส(หุงด้วยนม) ใต้ต้นไทร เมื่อเสวยเสร็จแล้วทรงลอยถาดทองในแม่น้ำเนรัญชรา ทรงอธิษฐานเสี่ยงพระบารมีว่า ... “ถ้าอาตมาจะได้ตรัสแก่พระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณแล้ว ขอให้ถาดนี้จงลอยทวนกระแสน้ำขึ้นไป ” ถาดทองนั้นลอยทวนกระแสน้ำขึ้นไป ๑ เส้น แล้วก็จมลงตรงนาคภพพิมานแห่งพญากาฬนาคราช พระองค์ทรงโสมนัสและแน่พระทัยว่าจะได้ตรัสรู้ เป็นพระสัพพัญญูสัมพุทธเจ้า โดยหาความสงสัยมิได้

ในเวลาเย็นโสตถิยะให้ถวายหญ้าคา ๘ กำมือ ปูลาดเป็นอาสนะ ณ โคนใต้ต้นโพธิ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา (ปัจจุบันคือ ต.พุทธคยา ประเทศอินเดีย)
ทรงตั้งพระทัยแน่วแน่ว่าจะบรรลุโพธิญาณ ประทับหันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก
ทรงบรรลุรูปฌาณทั้ง ๔ ชั้น แล้วใช้สติปัญญาพิจารณาจนเกิดความรู้แจ้ง คือ
๑.) เวลาปฐมยาม ทรงได้ปุพเพนิวาสานุสติญาณ คือ ความรู้เป็นเหตุให้ระลึกชาติได้

๒.) เวลามัชฌิมยาม ทรงได้จุตูปปาตญาณ(ทิพยจักษุญาณ)คือรู้เรื่องเกิด-ตายของสัตว์ทั้งหลายว่า เป็นไปตามกรรมที่ตนกระทำไว้

๓.) เวลาปัจฉิมยาม ทรงได้ อาสวักขยญาณ คือ ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะหรือกิเลส หมายถึง ตรัสรู้อริยสัจ4

อาสวักขยญาณ ที่ทรงได้ทำให้ทรงพิจารณาถึงขันธ์ ๕ และใช่แห่งความเป็นเหตุที่ เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท อันเป็นต้นทางให้เขาถึงอริยสัจ 4
เมื่อพระองค์ทรงรู้เห็นแล้ว จึงละอุปาทานและตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า



[แก้ไข] ปฐมเทศนา
หลังจากที่ตรัสรู้แล้ว ได้พิจารณาธรรมที่พระองค์ตรัสรู้เป็นเวลา ๗ สัปดาห์ ทรงเห็นว่าพระธรรมที่พระองค์ทรงบรรลุนั้นมีความละเอียดอ่อน สุขุมคัมภีรภาพ ยากต่อบุคคลจะรู้ เข้าใจและปฏิบัติได้ ทรงเกิดความท้อพระทัยว่าจะไม่แสดงธรรมโปรดมหาชน ต่อมาท่านได้ทรงพิจารณาอย่างลึกซึ้ง แล้วทรงเห็นว่าบุคคลในโลกนี้มีหลายจำพวก บางพวกสอนได้ บางพวกสอนไม่ได้ เปรียบเสมือนบัว ๔ เหล่า ดังนั้นแล้วจึงดำริที่จะแสดงธรรมเพื่อมวลมนุษยชาติต่อไป




[แก้ไข] บัว ๔ เหล่า
๑.พวกที่มีสติปัญญาฉลาดเฉลียว เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมก็สามารถรู้ และเข้าใจในเวลาอันรวดเร็ว เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่พ้นน้ำ เมื่อต้องแสงอาทิตย์ก็เบ่งบานทันที (อุคฆฏิตัญญู)

๒.พวกที่มีสติปัญญาปานกลาง เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มเติม จะสามารถรู้และเข้าใจได้ในเวลาอันไม่ช้า เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่ปริ่มน้ำซึ่งจะบานในวันถัดไป (วิปัจจิตัญญู)

๓.พวกที่มีสติปัญญาน้อย แต่เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มอยู่เสมอ มีความขยันหมั่นเพียรไม่ย่อท้อ มีสติมั่นประกอยด้วยศรัทธา ปสาทะ ในที่สุดก็สามารถรู้และเข้าใจได้ในวันหนึ่งข้างหน้า เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ ซึ่งจะค่อยๆ โผล่ขึ้นเบ่งบานได้ในวันหนึ่ง (เนยยะ)

๔.พวกที่ไร้สติปัญญา และยังเป็นมิจฉาทิฏฐิ แม้ได้ฟังธรรมก็ไม่อาจเข้าใจความหมายหรือรู้ตามได้ ทั้งยังขาดศรัทธาปสาทะ ไร้ซึ่งความเพียร เปรียบเสมือนดอกบัวที่จมอยู่กับโคลนตม ยังแต่จะตกเป็นอาหารของเต่าปลา ไม่มีโอกาสโผล่ขึ้นพ้นน้ำเพื่อเบ่งบาน (ปทปรมะ)

จึงทรงมีพระกรุณาธิคุณ ระลึกอาฬารดาบสและอุททกดาบสว่า มีกิเลสเบาบางสามารถตรัสรู้ได้ทันที แต่ท่านทั้ง ๒ ได้ตายแล้ว จึงทรงระลึกถึงปัญจวัคคีย์ (ประกอบด้วย พระโกณฑัญญะ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานาม และพระอัสสชิ) จึงเสด็จไปที่ป่าอิสปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี แคว้นกาสี ปัจจุบันคือสารนาถ เมืองพาราณสี ในวันขึ้น ๑๕ เดือน ๘ จึงทรงปฐมเทศนา " ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร (แปลว่าสูตรของการหมุนวงล้อแห่งพระธรรมให้เป็นไป)"

ซึ่งมีใจความ ๓ ตอน คือ

๑.) ทรงชี้ทางผิดอันได้แก่กามสุขัลลิกานุโยค(การประกอบตนให้ชุ่มอยู่ด้วยกาม) และอัตตกิลมถานุโยค(การทรมานตนให้ลำบาก) ว่าเป็นส่วนสุดที่บรรพชิตไม่ควรดำเนิน แต่เดินทางสายกลางที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา คือ มรรคมีองค์แปด เป็นไปเพื่อพระนิพพาน

๒.) ทรงแสดงอริยสัจ ๔ โดยละเอียด

๓.) ทรงปฏิญญาว่าทรงตรัสรู้พระองค์เอง และได้บรรลุธรรมวิเศษแล้ว

โกญฑัญญะเป็นผู้ได้ธรรมจักษุก่อน เกิดความเข้าใจแจ่มแจ้งตามสภาพเป็นจริงว่า "ยํ กิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมนฺติ " สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีเกิดขึ้นเป็นธรรม สิ่งนั้นทั้งหมดมีดับเป็นธรรมดา
จึงได้อุปสมบทเป็น เอหิภิกขุอุปสัมปทาองค์แรก

หลังจากปัญจวัคคีย์อุปสมบทแล้ว พุทธองค์จึงทรงเทศน์ อนัตตลักขณสูตร ปัญจวัคคีย์จึงสำเร็จเป็นอรหันต์
[แก้ไข] ลักษณะการแสดงธรรม
สำหรับผู้ที่ไม่มีพื้นฐานทางธรรมมาก่อนจะทรงเทศน์ "อนุปุพพิกถา" ซึ่งว่าด้วยเรื่อง :
คุณของการให้ทาน การรักษาศีล
สวรรค์ (การแสวงสุขเนื่องจากการให้ทาน การให้ศีล)
โทษของกามและการปลีกตัวออกจากกาม
จากนั้นจึงทรงเทศน์ อริยสัจ ๔



[แก้ไข] แสดงธรรมโปรดยสกุลบุตร
ยสกุลบุตรเบื่อหน่ายชีวิตครองเรือนหนีออกจากบ้าน ไปยังป่าอิสปตนมฤคทายวันในเวลาเช้ามืด แล้วพบพระพุทธเจ้าบังเอิญ ยสกุลบุตรสดับพระธรรมเทศนาได้ดวงตาเห็นธรรม ได้ตรัสรู้เป็นพระอรหันต์ และขอบวช
อุบาสิกอุบาสิกาคู่แรก คือ บิดามารดาของพระยสะ
ครั้นแล้วมีเพื่อนของพระยสะ ๔ คนกับอีก ๕๐ คน ได้มาฟังพระธรรมเทศนา สำเร็จเป็นพระอรหันต์ จึงมีพระอรหันต์ในโลก ๖๑ องค์
[แก้ไข] การส่งสาวกออกประกาศศาสนา
ตรัสเรียกสาวกออกประกาศศาสนา เมื่อมีสาวกครบ ๖๐ รูป (ปัญจวัคคีย์และพวกพระยสะ)
ตรัสให้พระสาวก ๖๐ รูปแยกย้ายกันประกาศศาสนา ๖๐ แห่งไม่ซ้ำทางกัน
พระองค์จะเสด็จไปแสดงธรรม ณ ตำบลอุรุเวลา เสนานิคม
เมื่อสาวกออกประกาศเทศนา มีผู้ต้องการบวชมาก และหนทางไกลกัน จึงทรงอนุญาตให้สาวกดำเนินการบวชได้ โดยใช้วิธีการ "ติสรณคมนูปสัมปทา" (ปฏิญาณตนเป็นผู้ถึงพระรัตนตรัย)
[แก้ไข] การประดิษฐ์พุทธศาสนา ณ แคว้นมคธ
วิธีเผยแพร่ศาสนาในกรุงราชคฤห์ ทรงเทศน์โปรดชฎิล(นักบวชเกล้าผม)สามพี่น้อง ได้แก่ พระอุรุเวลกัสสปะ พระนทีกัสสปะ พระคยากัสสปะ และบริวาร รวม ๑,๐๐๐ คนก่อน แล้วได้ขอบวชในพระพุทธศาสนา เพราะพวกชฎิลเป็นเจ้าลัทธิบูชาไฟที่ยิ่งใหญ่ หากชฎิลยอมรับพุทธธรรมได้ ประชาชนก็ย่อมเกิดความศรัทธา
พระอุรุเวลกัสสปะได้ยกย่องว่าเป็นผู้เลิศในทางมีบริษัท(บริวาร)มาก
พระเจ้าพิมพิสารทรงถวายวัดนับว่าเป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา คือ พระเวฬุวันมหาวิหาร (วัดเวฬุวัน)
อุปติสสะ(พระสารีบุตร)และโกลิตะ(พระโมคคัลลานะ)

ณ กรุงราชคฤห์นี้เอง เด็กหนุ่มสองคน ซึ่งเป็นศิษย์ของนักปรัชญาเมธี ผู้มีชื่อเสียงคนหนึ่งชื่อ สัญชัย เวลัฏฐบุตร โดยพระอัสสชิได้แสดงธรรมให้อุปติสสะว่า "ทุกสิ่งจากเหตุ พระศาสดาทรงแสดงเหตุของสิ่งเหล่านั้น และการดับเหตุของสิ่งเหล่านั้น" อุปติสสะได้ฟังก็เกิด "ดวงตาเห็นธรรม" จึงกราบลาท่าน แล้วรีบไปบอกข้อความที่ตนได้ฟังมาแก่โกลิตะทราบ โกลิตะได้ฟังก็เกิด"ดวงตาเห็นธรรม" เด็กหนุ่มสองคนจึงมาขอบวชเป็นสาวกพร้อมกัน และมีชื่อเรียกทางพระศาสนาว่า พระสารีบุตร และ พระโมคคัลลานะ ตามลำดับ

หลังจากบวชได้ ๗ วัน พระโมคคัลลานะได้ไปบำเพ็ญสมาธิอยู่ที่ กัลลวาลมุตตคาม ใกล้เมืองมคธ รู้สึกง่วงเหงาหาวนอน แก้อย่างไรก็ไม่หาย จนพระพุทธเจ้าเสด็จไปตรัสบอกวิธีเอาชนะความง่วงให้ พร้อมประทานโอวาทว่าด้วยความไม่ยึดมั่นถือมั่น ให้ใช้ปัญญาพิจารณาเวทนา (ความรู้สึก) ทั้งหลายว่า เป็นอนิจจังไม่เที่ยงแท้แน่นอน จบพุทธโอวาท พระโมคคัลลานะก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์

หลังจากบวชได้ ๑๕ วัน พระสารีบุตรได้ถวายงานพัดพระพุทธเจ้า ขณะพระองค์ทรงแสดงธรรมโปรดทีฆนขะปริพาชก (นักบวชไว้เล็บยาว) อยู่ที่ถ้ำสุกรขาตา เชิงเขาคิชฌกูฏ ท่านพัดวีพระพุทธองค์พลางคิดตามพระโอวาทของพระพุทธเจ้าไปด้วย เมื่อจบพระธรรมเทศนาก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์

ทั้งสองท่านได้รับแต่งตั้งจากพระพุทธเจ้าให้เป็นพระอัครสาวก โดยพระสารีบุตรเป็นพระอัครสาวกเบื้องขวา มีความเป็นเลิศกว่าผู้อื่นทางปัญญา และพระโมคคัลลานะเป็นพระอัครสาวกเบื้องซ้าย มีความเป็นเลิศกว่าผู้อื่นทางฤทธิ์มาก

[แก้ไข] โอวาทปาติโมกข์
วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ (มาฆบูชา) เกิดมีจตุรงคสันนิบาต ซึ่งประกอบด้วย

๑.)วันนั้น เป็นวันมาฆปูรณมี คือวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำกลางเดือนมาฆะ จึงเรียกว่า มาฆบูชา

๒.)พระภิกษุ ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย

๓.)พระภิกษุทั้งหมดล้วนเป็นพระอรหันต์ ประเภทฉฬภิญญา คือ ได้อภิญญา ๖ ซึ่งหมายถึงความสามารถ พิเศษ ๖ ประการ ได้แก่ แสดงฤทธิ์ได้ ระลึกชาติได้ ตาทิพย์ หูทิพย์ กำหนดรู้ใจคนอื่นได้ และบรรลุอาสวักขยญาณ (คือญาณหยั่งรู้ในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย)

๔.)พระภิกษุ เหล่านั้น ทั้งหมด ได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธเจ้าโดยตรง (เอหิภิกฺขุอุปสมฺปทา) ทรงเทศน์ "โอวาทปาติโมกข์" ซึ่งถือเป็นหัวใจของศาสนาพุทธ ใจความว่า " จงทำดี ละเว้นความชั่ว และทำใจให้บริสุทธิ์ "

พระสงฆ์ปรารถว่าไม่เคยเห็นฝนเช่นนี้มาก่อน พระพุทธจึงทรงเล่าว่า ฝนนี้เคยตกมาแล้วเมื่อเสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดร แล้วจึงทรงเล่าเรื่องมหาเวสสันดร



[แก้ไข] โปรดพระพุทธบิดาและพระประยูรญาติ ณ กรุงกบิลพัสดุ์
ทรงแสดงธรรมโปรดพระพุทธบิดา (พระเจ้าสุทโธทนะ) ได้บรรลุโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล จนบรรลุอรหันตผลเมื่อใกล้สวรรคต
พระนันทะ (เป็นโอรสของพระสุทโธทนะกับพระนางปชาบดีโคตมี) ซึ่งเป็นพระอนุชาของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้านำ ออกผนวชอุปสมบท
ต่อมาพระนางยโสธราก็ให้พระกุมารราหุลซึ่งมีอายุ ๗ ปีไปทูลขอราชสมบัติ พระพุทธเจ้าเห็นว่าราชสมบัติเป็นสิ่งไม่จีรังยั่งยืน อริยทรัพย์(ทรัพย์อันประเสริฐ)ต่างหากเป็นสิ่งยั่งยืน จึงทรงให้พระสารีบุตรทำการบรรพชาให้ราหุลเป็นสามเณร จึงเป็นสามเณรรูปแรกในพระพุทธศาสนา ณ นิโครธาราม พระเจ้าสุทโธทนะจึงขอร้องว่า "ขออย่าให้ทรงบวชใคร โดยที่พ่อแม่เขายังไม่ได้อนุญาต"
เมื่ออายุครบ ๒๐ ปี ได้รับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุ จากนั้นก็สำเร็จเป็นพระอรหันต์และได้ยกย่องว่าเป็นผู้เลิศในทางใคร่ต่อการศึกษา

ทรงให้อุปสมบทแก่เจ้าศากยะ ๕ พระองค์ คือ พระอานนท์ พระอนุรุทธ์(เป็นผู้มีเลิศในทางมีทิพยจักษุ) พระภัททิยะสักยราชา พระภัคคุ พระกิมพิละ และเจ้าโกลิยะ ๑ พระองค์ คือพระเทวทัต จนได้บรรลุอรหัตผล ๕ ท่าน ยกเว้นพระเทวทัต
พระอุบาลีเป็นบุตรของช่างกัลบก(ช่างตัดผม)อยู่ในวรรณะต่ำ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพนักงานภูษามาลาของเจ้าศากยะ ทำหน้าที่จัดการดูแลเครื่องแต่งกาย เมื่อเจ้าศากยะ ๕ พระองค์ และเจ้าโกลิยะ 1 พระองค์ทรงออกผนวช อุบาลีได้ติดตามไปขออุปสมบทด้วย พระอุบาลีเมื่อได้อุปสมบทแล้วไม่ช้าก็บรรลุอรหัตผล และได้ยกย่องว่าเป็นผู้เลิศทาง ด้านผู้ทรงไว้ซึ่งพระวินัย
พระนางปชาบดีโคตมี(พระน้าของพระพุทธเจ้า) ได้ผนวชเป็นภิกษุณีรูปแรกในพระพุทธศาสนา โดยพระอานนท์ช่วยกราบทูลขออนุญาตพระพุทธเจ้าสุดท้ายได้บรรลุพระอรหันต์ และได้ยกย่องว่าเป็นผู้เลิศในทางรู้ราตรี
โปรดให้พระนางยโสธราได้อุปสมบทเป็นภิกษุณีชื่อพระนางภัททา กัจจานา จนบรรลุอรหัตผล และได้ยกย่องว่าเป็นผู้เลิศในทางบรรลุอภิญญาใหญ่ (สามารถระลึกเหตุการณ์ในกัปป์ต่างๆย้อนหลังไปได้มากนับไม่ถ้วน)

การท่องเที่ยว

การท่องเที่ยว หมายถึงการเดินทางเพื่อพักผ่อนหย่อนใจหรือเพื่อความสนุกสนานตื่นเต้นหรือเพื่อหาความรู้ องค์กรการท่องเที่ยวของสหประชาชาติ (อังกฤษ: World Tourism Organization) กำหนดไว้ว่า การท่องเที่ยวหมายถึงการเดินทาง โดยระยะทางมากกว่า 80 กิโลเมตรจากบ้าน เพื่อจุดประสงค์ในการพักผ่อนหย่อนใจ[ต้องการอ้างอิง]

การท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมหลักชนิดหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งนำรายได้จากประชาชนชาวไทย และชาวต่างชาติเข้าสู่ประเทศไทย

สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (SIPA) เล็งเห็นถึงความสำคัญที่จะนำเทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศ (ICT) มาพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น จึงได้ผลักดันโครงการนำร่องด้วยการสร้างพื้นฐานบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต กระตุ้นให้กลุ่มท่องเที่ยวร่วมกันบริการนักท่องเที่ยวผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งนับเป็นตัวอย่างของการใช้เทคโนโลยีซอฟต์แวร์ระดับสูงภายใต้ชื่อ "Tourism c-Commerce" (อังกฤษ: Tourism Collabolative Commerce) หรือการพาณิชย์เชิงร่วมมือบนธุรกิจท่องเที่ยวขยายโอกาสทางการค้าที่ข่วยเพิ่มรายได้สู่หน่วยธุรกิจ

การสงครามโลกครั้งที่1

สงครามโลกครั้งที่หนึ่งจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรีไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

รูปภาพเรียงตามเข็มนาฬิกาเริ่มจากภาพบนสุด: การรบแบบสนามเพลาะในแนวรบฝั่งตะวันตก; รถถัง Mark IV ของอังกฤษกำลังเคลื่อนผ่านสนามเพลาะ; HMS Irresistible เรือรบหลวงแห่งราชนาวีอังกฤษกำลังอับปางหลังจากปะทะเข้ากับทุ่นระเบิด ในยุทธนาวีดาร์เนลส์; ทหารอังกฤษในหน้ากากกันแก๊สกำลังคุมปืนกลวิคเกอร์ส และฝูงเครื่องบินปีกสองชั้นรุ่น Albatros D.III ของเยอรมนี
วันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1914 – 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918
สถานที่ ทวีปยุโรป ทวีปแอฟริกา และในภูมิภาคตะวันออกกลาง (รวมถึงการรบย่อย ๆ ในเอเชียใต้ ประเทศจีนและหมู่เกาะตามมหาสมุทรแปซิฟิก)
ผลลัพธ์ ชัยชนะของฝ่ายไตรภาคี; การล่มสลายของจักรวรรดิเยอรมัน จักรวรรดิรัสเซีย จักรวรรดิออตโตมาน จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี; สนธิสัญญาภายหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง; การก่อตั้งสันนิบาตชาติ; การถือกำเนิดของสหภาพโซเวียต

ผู้ร่วมสงคราม
มหาอำนาจไตรภาคี (พันธมิตร):
จักรวรรดิรัสเซีย
ฝรั่งเศส
จักรวรรดิบริเตน
ราชอาณาจักรอิตาลี
สหรัฐอเมริกา มหาอำนาจกลาง (ไตรพันธมิตร):
ออสเตรีย-ฮังการี
จักรวรรดิเยอรมัน
จักรวรรดิออตโตมาน
ราชอาณาจักรบัลแกเรีย
ผู้บัญชาการ
ผู้นำและผู้บัญชาการฝ่ายพันธมิตร ผู้นำและผู้บัญชาการฝ่ายมหาอำนาจกลาง
ความสูญเสีย
ทหารเสียชีวิต:
5,525,000 นาย
ทหารบาดเจ็บ:
12,831,500 นาย
ทหารหายสาบสูญ:
4,121,000 นาย ทหารเสียชีวิต:
4,386,000 นาย
ทหารบาดเจ็บ:
8,388,000 นาย
ทหารหายสาบสูญ:
3,629,000 นาย

สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (อังกฤษ: World War I หรือ First World War) หรือเป็นที่รู้จักกันว่า "สงครามครั้งยิ่งใหญ่" (อังกฤษ: Great War) หรือ "สงครามเพื่อยุติสงครามทั้งมวล" (อังกฤษ: War to End All Wars) เป็นสงครามที่เกิดขึ้นในช่วง ค.ศ. 1914 - ค.ศ. 1918 โดยประเทศมหาอำนาจทั้งหมดของโลกเข้าร่วมสงคราม[1] แบ่งออกเป็นฝ่ายสัมพันธมิตร (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไตรภาคี) และฝ่ายมหาอำนาจกลาง[2] โดยพบว่ามีทหารกว่า 70 ล้านคนมีส่วนร่วมในการรบ[3] ผลจากสงครามทำให้มีผู้เสียชีวิต บาดเจ็บและสูญหาย รวมกันไม่ต่ำกว่า 40 ล้านคน[4] ถือเป็นสงครามที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในประวัติศาสตร์ลำดับที่สอง[5]

สาเหตุหนึ่งของสงครามโลกครั้งที่หนึ่งก็คือ การลอบปลงพระชนม์อาร์คดุยค ฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์ รัชทายาทของบัลลังก์จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี โดยกัฟรีโล ปรินซีป ชาวเซิร์บบอสเนีย ซึ่งเป็นสมาชิกของแก๊งมือมืด และการแก้แค้นของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีต่อราชอาณาจักรเซอร์เบียก็ทำให้เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ก่อให้เกิดสงครามครั้งใหญ่ปะทุขึ้นในทวีปยุโรป ภายในหนึ่งเดือน ทวีปยุโรปส่วนมากก็อยู่ในสภาวะสงคราม

สงครามโลกครั้งที่หนึ่งสิ้นสุดลงด้วยชัยชนะของฝ่ายพันธมิตร และความปราชัยของฝ่ายมหาอำนาจกลาง - จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี และจักรวรรดิออตโตมัน ได้แตกเป็นประเทศเกิดใหม่จำนวนมาก[6] โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในยุโรปกลาง[7] การสื้นสุดของจักรวรรดิรัสเซีย นำไปสู่การก่อตั้ง สหภาพโซเวียต อันเป็นผลมาจากการปฏิวัติรัสเซีย ต่อมา ได้มีการก่อตั้ง สันนิบาตชาติ เพื่อเป็นองค์การระหว่างประเทศที่มีจุดประสงค์เพื่อการแก้ไขปัญหาระหว่างประเทศด้วยวิธีการทางการทูต แต่ทว่าจากลัทธิชาตินิยมที่เกิดขึ้นภายหลังสงคราม ประกอบกับสนธิสัญญาแวร์ซายส์ ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่การปะทุของสงครามโลกครั้งที่สอง[8]

ขุนช้างขุนแผน

ความเป็นมาของเรื่องขุนช้างขุนแผน


เรื่องขุนช้างขุนแผนนี้ เป็นนิยายพื้นบ้านของสุพรรณบุรี ที่แต่งขึ้นจากเรื่องจริง ที่เกิดขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ซึ่งมีหลักฐานอยู่ ในหนังสือคำให้การชาวกรุงเก่า โดยแต่งเป็นบทกลอนสำหรับขับเสภา ให้ประชาชนฟัง เมื่อมาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ที่มีผู้แต่งไว้ตั้งแต่งสมัยกรุงศรีอยุธยานั้น เหลืออยู่เพียงบางตอนเท่านั้น เพราะถูกไฟไหม้และสูญหายไป เมื่อครั้งเสียกรุงกับพม่า พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยฯ ให้กวีหลายท่าน เช่น พระองค์ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (รัชกาลที่ ๓ ) สุนทรภู่ ครูแจ้ง เป็นต้นให้ช่วยกันแต่งเพิ่มเติมขึ้น โดยแบ่งกันแต่งเป็นตอน ๆ ไปจนจบเรื่อง

ขุนช้างขุนแผนเป็นเรื่องที่ได้รับยกย่องจากวรรณคดีสโมสร ในสมัยรัชกาลที่ ๖ ว่าเป็นยอดของหนังสือประเภทกลอนเสภา มีสำนวนโวหารที่ไพเราะคมคาย มีคติเตือนใจ สะท้อนให้เห็นสภาพชีวิตและสังคมความเป็นอยู่ของคนไทย ให้ความรู้เกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมไทย และยังให้ความสนุกสนานเพลิดเพลินอีกด้วย

ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมต่างๆ
ความเชื่อทางโชคลาง
สำนวนโวหารและคติสอนใจจากเรื่อง
อารมณ์ขันของกวี


เทศการณ์ตรุจีน

เทศกาลวันตรุษจีน วันตรุษแปลว่าวันเริ่ม หมายถึงวันเริ่มต้น การเริ่มต้น วันใหม่ เริ่มฤดูกาลใหม่เริ่มปีใหม่ของคนจีนจะตรงกับวันที่ 1 เดือน 1 ตามปฏิทินจันทรคติของชาวจีน ความเป็นมาคือประเทศจีนเป็นประเทศเกษตรกรรม ทำไร่ไถ่นา ปรากฏว่าปีหนึ่งแบ่งเป็น 4 ฤดูกาลพอถึงช่วงฤดูใบไม้ร่วงฤดูหนาว ประเทศจีนจะหนาวมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงฤดูหนาว หิมะตกหนัก ไม่สามารถทำให้ทำนาได้เกษตรกรรมบางอย่างทำก็ไม่ได้เป็นช่วงที่ชาวนาได้พักร้อนยาวมาก พอถึงฤดูใบไม้ผลิ อากาศเริ่มอุ่นจะได้ทำนาทำไร่กัน เลยมีการบวงสรวงปีใหม่ธรรมเนียมนี้จากการที่อ่านประวัติศาสตร์ศึกษาลงไปประมาณ 3,200 ปีก่อน และปัจจุบันจะมีตุ๊กตาจีนเป็นคนตกปลาตัวหนึ่งซึ่งมีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ ชื่อของท่านคือ เกียงไท้กง จะเป็นพระอาจารย์ของพระโอรสกษัตริย์ 2 พระองค์ ลูกศิษย์ของเกียงไท้กงที่เป็นโอรสองค์ที่ 2 จะเป็นผู้สำเร็จราชการของจีนในขณะนั้น แล้วเป็นผู้ที่คิดธรรมเนียมต่าง ๆ ขึ้นมา มีชื่อเรียกเป็นฉายาว่า จิวกงผู้คิดประเพณี จิวกงคิดธรรมเนียมตรุษจีน ว่าให้มีการไหว้เจ้าเมื่อจะเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิต มีธรรมเนียมหนึ่งที่น่าสนใจว่าห้ามฆ่าสัตว์ตัวเมียมาเซ่นไหว้ เพราะช่วงฤดูหนาวเป็นช่วงที่สัตว์ผสมพันธุ์กัน การฆ่าสัตว์ตัวเมียอาจพลาดไปฆ่าตัวแม่ที่กำลังตั้งท้องลูกสิ่งเหล่านี้เป็นเกร็ดความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ เกี่ยวกับเทศกาลตรุษจีน แต่ธรรมเนียมการไหว้เนื่องในวันตรุษจีนสืบทอดยาวนานมาจนถึงปัจจุบันนี้ คนจีนจะมีการไหว้ในวันสิ้นปี และมีการไหว้วันตรุษจีน ในเทศกาลวันตรุษจีนจะมีวันสำคัญ ๆ ที่ยึดถือเป็นหลักที่คนส่วนใหญ่คุ้นเคยกับคำว่าวันจ่าย วันไหว้วันถือ และมีประเพณีการไหว้อีกลักษณะหนึ่งซึ่งคนจีนบางบ้านจะมีการไหว้เจ้าเต่า ปัจจุบันจะเป็นธรรมเนียมที่เรียกว่าไหว้เหล่าเอียะเจี่ยถี่ ไหว้ส่งเสด็จเจ้าขึ้นสวรรค์จะตรงกับ
วันที่ 24 เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติของชาวจีนเมื่อไหว้เสร็จจะเริ่มทำความสะอาดบ้านกัน เป็นการล้างบ้านอย่างใหญ่ นอกเหนือจากที่ทุกวันปัดกวาดเช็ดถูธรรมดา ช่วงนี้จะล้างบ้าน คือเขามองว่าปีหนึ่งล้างบ้านให้สะอาดครั้งหนึ่ง ผู้ใหญ่ อาจจะให้เป็นเกร็ดความรู้จูงใจให้ล้างบ้านว่าล้างบ้านเพื่ออวยพรให้บ้านโชคดี ความโชคดีจะชอบบ้านที่สะอาด พอล้างบ้านเสร็จก็
เริ่มจับจ่ายใช้สอยเตรียมของไหว้เจ้า เพราะในวันสิ้นปีจะมีไหวเจ้าหลายอย่าง และในวันตรุษจีนมีไหว้เจ้าหลายอย่าง ปัจจุบันจะนิยมหยุดงานกันในวันสิ้นปี และในวันตรุษจีน และอาจมีหยุดต่ออีกหลายวัน เป็นช่วงที่จะจับจ่ายใช้สอยอะไร ซื้อให้เสร็จก่อนวันสิ้นปี จึงเกิดเป็นธรรมเนียมว่าก่อนสิ้นปี 1 วัน เรียกกันว่าเป็นวันจ่าย ขาดเหลืออะไรไปซื้อของให้เรียบร้อย และวันสิ้นปีจะเรียกเป็นวันไหว้ เพราะในวันสิ้นปีจะมีตั้งแต่ไหว้เจ้าในช่วงเช้า ไหว้บรรพบุรุษในช่วงก่อนเที่ยงวัน หรือบางบ้านไหว้เมื่อบ่ายโมง จะเป็นการไหว้ผีไม่มี
ญาติ วันไหว้วันเดียวไหว้ถึง3 ครั้ง พอหมดวันสิ้นปีประมาณเที่ยงคืน พอล่วงเช้าวันใหม่คนจีนจะนิยมไหว้ใช้ซิงเอี้ยะ หรือเทพเจ้าแห่งโชคภาพ ไหว้ถึง 4 อย่างใน 1 วัน 1 คืน พอเช้าวันตรุษจีนยังมีไหว้เจ้าง่าย ๆ และมีไหว้บรรพบุรุษอีกต่างหากแต่ที่น่าสนใจคือไหว้ใช้
ชิงเอี้ยะ จะมีการดูฤกษ์ยามที่ดี และการไหว้จะมีทิศของการไหว้ แต่ละปีใช้ชิงเอียะเป็นเทพเจ้าแห่งโชคลาภ จะเสด็จลงมาในทิศที่ไม่เหมือนกัน
ความน่าสนใจอีกอย่างหนึ่งเกี่ยวกับของที่ใช้ไหว้เจ้าว่ามีอะไรบ้าง ถ้าเป็นการไหว้วันสิ้นปีจะไหว้ปกติคือมีของคาว ของหวาน ซึ่งจะมีขนมไหว้พิเศษสำหรับเทศกาลนี้คือขนมเข่งและขนมเทียน ขนมเข่งและขนมเทียนจะดูเป็นหลักว่าเทศกาลไหนมีไหว้ผีไม่มี
ญาติ จะมีไหว้ขนมเข่งและขนมเทียน และไหว้บรรพบุรุษจะมีเป็นปกติ นอกจากจะมีไหว้ของคาวคือพวกหมู ไก่ มีไหว้ขนมไหว้และผลไม้แล้ว จะมีกับข้าว 8 อย่าง 10 อย่างและมีไหว้ผีไม่มีญาติ ไปไหว้ที่นอกบ้านแล้วแต่จัด บางบ้านจัดมาก บางบ้านจัดน้อย บางบ้าน
จัดพอเป็นพิธีแต่ที่บ้านไม่ไหว้ผีไม่มีญาติในเทศกาลไหว้วันสิ้นปี ส่วนการไหว้ใช้ซิงเอี้ยะกับการไหว้ตรุษจีนจะพิเศษอย่างหนึ่งคือจัดง่าย ๆ จะไหว้ขนมมี ขนมอี๋ไหว้เพื่ออวยพรให้โชคดี ขนมจันอับ บางครั้งเรียกว่าขนมแต่เหลียง หรือขนมโหงวเช็กซึ้ง จะเป็นขนม 5 อย่างประกอบด้วยถั่วตัด งาตัด ข้าวพอง ถั่วเคลือบ และฟักเชื่อม และจะไหว้ส้ม ซึ่งส้มในเทศกาลตรุษจีนนิยมเป็นส้มสีทอง ส้มจะเป็นผลไม้ประจำเทศกาลตรุษจีน เพราะเป็นผลไม้ที่มีความหมายมงคล คนจีนเรียกว่าใต้อิด แปลว่าโชคดี มหามงคลและเตรียมน้ำชาอีก 3 ที่สำหรับไหว้ใช้ชิงเอี้ยะและมีกระดาษเงินกระดาษทอง และไหว้ธูป 3 ดอก พอช่วงเช้าวันตรุษจีนจะมีการไหว้เจ้าที่ด้วยของไหว้เหมือนกัน คือมีส้ม ขนมอี๋ และมีขนมจันทร์อับหรือขนม 5 อย่างนี้ และไหว้น้ำชาอีก 5 ถ้วย และไหว้ธูป 5 ดอก เพราะการไหว้เจ้าที่คือการไหว้ธาตุทั้ง 5 และไหว้บรรพบุรุษด้วยของไหว้ง่าย ๆ อย่างนี้เหมือนกัน เพียงแต่เพิ่มอาหารแห้งเข้ามาอีกที่หนึ่งเท่านั้น เป็นการไหว้ที่ค่อนข้างมาก แต่เพื่อให้เป็นสิริมงคล นอกจากนี้ วันตรุษจีนจะเป็นช่วงเทศกาลซึ่งบางครั้งคนจีนจะเรียกว่าวันถือ จะมีวันจ่าย วันไหว้ วันถือ ถือคือถือที่จะพูดหรือสิ่งที่ดี ๆ อวยพรในสิ่งที่ดี ๆ แก่กัน ไม่ทำงาน เพราะกลัวพลาด และไม่ปัดกวาดเช็ดถู ไม่ทำอะไรที่เกรงว่าจะทำให้ของไม่ดีติดมา เช่นไม่กวาดบ้าน เพราะกลัวว่าจะกวาดเอาสิ่งดี ๆ ออกไป และกวาดเอาสิ่งที่ไม่ดีเข้ามา การล้างชาม คนจีนจะมีเกร็ดความรู้นิดหนึ่ง
ว่า ถ้าพลาดทำจานชามกระเบื้องตกแตก ให้รีบพูดว่าขุยขุ่ยฉุ่ยตกปุ๊ยกุ่ย แปลว่ากระเบื้องเปิดปากแล้วจะร่ำรวยกันใหญ่ ธรรมเนียมของจีนมีหลายอย่างที่น่าสนใจ
วันสำคัญ ๆ ของวันตรุษจีน
วันสำคัญ ๆ ของวันตรุษจีนจะมีอยู่ 3 วันคือ วันจ่าย วันไหว้ และวันถือหรือวันเที่ยว ซึ่งชาวจีนหรือคนไทยเชื้อสายจีนได้ถือปฏิบัติกันมาช้านาน มีรายละเอียดที่น่าสนใจ โดยเฉพาะวันถือในเทศกาลวันตรุษจีนนี้ที่บอกว่า ชาวจีนจะพูดและทำในสิ่งที่เป็นมงคล ไม่พูดจาหยาบคาย
จุดเด่นสำหรับเทศกาลตรุษจีน เป็นธรรมเนียมของการเริ่มต้นโดยมีจุดเด่นว่าเป็นข้อคิดว่าไหน ๆ จะเริ่มปีใหม่เริ่มให้ดีๆ ตั้งใจทำให้ดี ๆ ตั้งสมาธินิดหนึ่ง อะไรที่ดีและธรรมเนียมอีกอย่างหนึ่งที่ชอบคือ เป็นธรรมเนียมการไปอวยพรญาติมิตรเรียกว่า
ไปไป๊เนีย เอาส้ม 4 ผล ถ้าเป็นของดั้งเดิมที่เคยเห็นจะเอาส้ม 4 ผลใส่ผ้าเช็ดหน้าผู้ชายผืนใหญ่ไปไหว้ญาติมิตร ไปอวยพร แล้วส้ม 4 ผลให้ไปเจ้าบ้านจะรับมาจะมาเปลี่ยนเอาส้ม 2 ใบใส่เข้าไป แล้วคืนส้ม 4 ใบให้กับแขกผู้มาเยือนเป็นการอวยพร เป็นการแลกเปลี่ยน
โชคลาภ มอบโชคลาภให้แก่กัน แล้วเจอหน้ากันจะอวยพรกัน ซินเจียยู่อี่ ซินนี้อวดใช้ จะแปลว่าเวลาใหม่ให้สมใจ ปีใหม่ให้สมปรารถนาจะนิยมอวยพรเป็นคำอื่นก็ได้เช่น ห่วงสื่อยู่อี่ ทุกเรื่องให้สมปรารถนาที่เอามาตั้งเป็นชื่อหนังสือรวบรวมลวดลายศิริมงคล
จากคำอวยพรวันตรุษจีนเช่นกัน คำอวยพรวันตรุษจีนจะมีคำเฉพาะเรียกว่าตุ้ยเลี้ยง ตุ้ยแปลว่าคู่ เลี้ยงหมายถึงการแสดงความคิดเห็นเป็น 2 วลีคู่ อย่างซินเจียยู่อี่วลีหนึ่ง ซินนี้ฮวดใช้วลีหนึ่งคู่กันบางทีจะเป็นแผ่นป้ายคำอวยพรแปะไว้ที่หน้าประตูบ้านหาซื้อได้แถว
เยาวราช เพราะฉะนั้นตรุษจีนจุดเด่นคือการทำแต่สิ่งที่ดีพูดคำดี อวยพรแต่สิ่งที่ดี บางบ้านจะมีการปิดยันต์แผ่นใหม่ที่หน้าประตูบ้าน เพื่อให้คุ้มครองตัวเราและครอบครัว จังสังเกตได้ว่าข้อดีหรือจุดเด่นของวันตรุษจีนนั้น ชาวจีนจะทำแต่สิ่งที่ดี พูดดี และไปอวยพร
ญาติมิตรหรือญาติผู้ใหญ่ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูสำหรับอดีตไม่ทราบ เพราะเกิดไม่ทัน และไม่ได้ไปศึกษา แต่มองว่าปัจจุบันนี้คนจีนยังคงธรรมเนียมนี้อยู่ เป็นธรรมเนียมที่ได้รับการสนใจและสืบสานจนถึงทุกวันนี้ ถ้าไปย่านเยาวราชวันจ่ายอย่าได้ผ่าน
ไป รถจะติดมาก และทุกปีเป็นอย่างนี้ เชื่อว่าปีนี้จะยังคงติดอยู่ ยังคงไปจับจ่ายซื้อของกัน และก่อนเริ่มเทศกาลประมาณเดือนหนึ่งจะมีการตั้งแผงขายตุ้ยเลี้ยงหรือแผ่นคำมงคลอวยพรไปหาซื้อได้ เป็นแผ่นแดง ๆ และมีตัวอักษรจีนสีทองพิมพ์แปะอยู่ เลือกได้ชอบคำ
ไหน ปีนี้ถ้าอวยพรท่านผู้ฟัง จะอวยพรว่าโป่วโป่วกาเซ็ง แปลว่าทุกก้าวให้สำเร็จ เพราะในภาวะเศรษฐกิจสังคมที่ทุกคนบอกมีปัญหามาก ติดขัดไปหมด การทำงานขาดทุนแล้วขาดทุนอีกจะไปรอดไม่รอด อยากอวยพรโป่วโป่วกาเซ็ง ทุกก้าวให้สำเร็จ ไม่ว่าจะทำ
อะไรขอให้สำเร็จ ไม่ว่าจะทำอะไรขอให้ไปรอดปลอดภัย และอีกคำหนึ่งซุกยิบเพ็งอัง แปลว่าเข้าออกปลอดภัย เพราะทุกวันนี้มีอุบัติเหตุมีอะไรที่เราคาดไม่ถึง จะเข้าออกนอกบ้านขอให้ปลอดภัย ขอให้โชคดีและทุก ๆ ก้าวให้สำเร็จ
ในโอกาสที่สัปดาห์นี้เป็นเทศกาลวันตรุษจีน ซึ่งเป็นวันขึ้นปีใหม่ของชาวจีน คุณจิตราได้กรุณาฝากคำอวยพรไปถึงพี่น้องประชาชนชาวไทยที่มีเชื้อสายจีนหรือชาวจีนที่อยู่ในประเทศไทยอย่างที่อวยพรว่าโป่วโป่วกาเซ็ง ให้ทุกก้าวสำเร็จ ให้ชุกยิบเพ็งอัง
คือชีวิตที่เข้านอกออกนอกบ้านขอให้ปลอดภัย และฝากเกร็ดความรู้อีกนิดหนึ่งคนจีนที่พิถีพิถันจะดูฤกษ์ยามในการออกนอกบ้านครั้งแรกในวันตรุษจีน คือจะเป็นความเชื่อของคนโบราณว่าถ้าออกนอกบ้านในช่วงเวลาที่ดีจะราบรื่นเรื่อยไปตลอดปี แต่ถ้าออกนอกบ้าน
ครั้งแรกผิดเวลา เป็นช่วงเวลาที่ไม่ดีอาจจะมีอะไรติดขัด ฝากให้ลองดูว่าอาจเป็นไปได้ เป็นกำลังใจนิดหนึ่ง และเกร็ดความรู้อีกอย่างหนึ่งคือจีนหยุดยาว บางคนจะดูฤกษ์ยามในการเปิดร้านหลังวันตรุษจีน บางคนดูฤกษ์วันดี บางคนดูฤกษ์สะดวก เช่น บางคนจะ
ดูว่าที่เล่าไว้ว่าจะมีการไหว้ส่งเจ้าขึ้นสวรรค์ในวันที่ 24 เดือน 12 ซึ่งเจ้าจะขึ้นสวรรค์ 10 วัน และจะลงมาอีกทีวันที่ 4 เดือน 1 บางคนถือเป็นฤกษ์ว่าเจ้าลงมาแล้วจะอวยพรให้ปลอดภัย ให้ก้าวหน้าโชคดี จะเปิดกิจการเปิดร้านในวันที่ 4 เดือน 1 ตรงนี้สะท้อนความ
หลากหลาย บางคนเปิดงานในวันสะดวก บางคนเปิดงานในวันฤกษ์ดี บางคนเปิดงานในวันที่เหล่าเอี้ยะเหล่าที คือเจ้าเสด็จลงมา ตรงนี้สะท้อนคำว่าธรรมเนียม แปลว่าความนิยม อาจจะนิยมต่างกันได้ เพราะฉะนั้นคือเกร็ดความรู้ที่ขอฝากท่านผู้ฟัง และอย่างที่
ฝากไว้ว่าคำอวยพรสำหรับปีนี้ โป่วโป่วกาเซ็ง ทุกก้าวให้สำเร็จชุกยิบเพ็งอัง เข้าออกนอกบ้านขอให้ปลอดภัยโชคดี แถมอีกคำหนึ่งบ่งสื่อหยู่อี้ ทุกเรื่องให้สมปรารถนา


ที่มา : "ตึ่ง หนั่ง เกี้ย" โดย จิตรา ก่อนันทเกียรติ

วันสงการณ์

คำว่า "สงกรานต์" มาจากภาษาสันสฤกตว่า สํ-กรานต แปลว่า ก้าวขี้น ย่างขึ้น หรือก้าวขึ้น การย้ายที่ เคลื่อนที่ คือพระอาทิตย์ย่างขึ้น สู่ราศีใหม่ หมายถึงวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งตกอยู่ในวันที่ 13,14,15 เมษายนทุกปี แต่วันสงกรานต์นั้นคือ วันที่ 13 เมษายน เรียกว่า วันมหาสงกรานต์ วันที่ 14 เป็นวันเนา วันที่ 15 เป็นวันเถลิงศก

ความหมายของคำอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสงกรานต์ มีดังนี้

สงกรานต์ ที่แปลว่า "ก้าวขึ้น" "ย่างขึ้น"นั้นหมายถึง การที่ดวงอาทิตย์ ขึ้นสู่ราศีใหม่ อันเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทุกเดือน ที่เรียกว่าสงกรานต์เดือน แต่เมื่อครบ 12 เดือนแล้วย่างขึ้นราศีเมษอีก จัดเป็นสงกรานต์ปี ถือว่าเป็น วันขึ้นปีใหม่ทางสุริยคติ ในทางโหราศาสตร์

มหาสงกรานต์ แปลว่า ก้าวขึ้นหรือย่างขึ้นครั้งใหญ่ หมายถึงสงกรานต์ปี คือปีใหม่อย่างเดียว กล่าวคือสงกรานต์หมายถึง ได้ทั้งสงกรานต์เดือนและสงกรานต์ปี แต่มหาสงกรานต์ หมายถึง สงกรานต์ปีอย่างเดียว

วันเนา แปลว่า "วันอยู่" คำว่า "เนา" แปลว่า "อยู่" หมายความว่าเป็นวันถัดจากวันมหาสงกรานต์มา 1 วัน วันมหาสงกรานต์เป็นวันที่ดวงอาทิตย์ย่างสู่ราศีตั้งต้นปีใหม่ วันเนาเป็นวันที่ดวงอาทิตย์เข้าที่เข้าทาง ในวันราศีตั้งต้นใหม่เรียบร้อยแล้ว คืออยู่ประจำที่แล้ว






วันเถลิงศก แปลว่า "วันขึ้นศก" เป็นวันเปลี่ยนจุลศักราชใหม่ การที่เปลี่ยนวันขึ้นศกใหม่มาเป็นวันที่ 3 ถัดจากวันมหาสงกรานต์ ก็เพื่อให้หมดปัญหาว่า การย่างขึ้นสู่จุดเดิม สำหรับต้นปีนั้นเรียบร้อยดี ไม่มีปัญหาเพราะอาจมีปัญหาติดพันเกี่ยวกับชั่วโมง นาที วินาที ยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ที่จะเปลี่ยนศกถ้าเลื่อนวันเถลิงศกหรือวันขึ้นจุลศักราชใหม่มาเป็น วันที่ 3 ก็หมายความว่า อย่างน้อยดวงอาทิตย์ได้ก้าวเข้าสู่ราศีใหม่ ไม่น้อยกว่า 1 องศาแล้วอาจจะย่างเข้าองศาที่ 2 หรือที่ 3 ก็ได้

วันสงกรานต์เป็นวันเปลี่ยนจุลศักราชใหม่ ซึ่งกษัตริย์สิงหศแห่งพม่า ทรงตั้งขึ้นเมื่อปีกุนวันอาทิตย์ พ.ศ. 1181 โดยกำหนดเอาดวงอาทิตย์เข้าสู่ราศีเมษได้ 1 องศา ประกอบกับไทยเราเคยนิยมใช้จุลศักราช สงกรานต์จึงเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยอีกด้วย

ในปีแรกที่กำหนดเผอิญเป็นวันที่ 13 เมษายน ซึ่งอันที่จริงไม่ใช่วันที่ 13 เมษายนทุกปี แต่เมื่อเป็นประเพณี ก็จำเป็นต้องเอาวันนั้นทุกปี เพื่อมิให้การประกอบพิธี ซึ่งมิได้รู้โดยละเอียดต้องเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา วันที่ 13 จึงเป็นวันสงกรานต์ของทุกปี

ปกติวันสงกรานต์จะมี 3 วัน คือ เริ่มวันที่ 13 เมษายน ถึงวันที่ 15 เมษายน วันแรกคือวันที่ 13 เป็นวันมหาสงกราต์ วันที่พระอาทิตย์ต้องขึ้นสู่ราศีเมษ วันที่ 14 เป็นวันเนา (พระอาทิตย์คงอยู่ที 0 องศา) วันที่ 15 เป็นวันเถลิงศกใหม่ และเริ่มจุลศักราชในวันนี้ เมื่อก่อนจริง ๆ มีถึง 4วัน คือวันที่ 13-16 เป็นวันเนาเสีย 2 วัน (วันเนาเป็นวันอยู่เฉยๆ ) เป็นวันว่าง พักการงานนอกบ้านชั่วคราว

จะเห็นได้ว่า วันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย จนถึง พ.ศ. 2483 ทางราชการจึงได้เปลี่ยนไหม่ โดยกำหนดเอาวันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ เพื่อให้เข้ากับ หลักสากลที่นานาประเทศนิยมปฏิบัติอย่างไรก็ตาม แม้จะมีการเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ประชาชนก็ยังยึดถือว่า วันสงกรานต์มีความสำคัญ

[แก้ไข] ความเป็นมาของวันสงกรานต์


ตามหลักแล้วเทศกาลสงกรานต์ถูกกำหนดตามการคำนวณโดยหลักเกณฑ์ในคัมภีร์สุริยยาตร์ โดยวันแรกของเทศกาลซึ่งเป็นวันที่พระอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีเมษ (ย้ายจากราศีมีนไปราศีเมษ) เรียกว่า "วันมหาสงกรานต์" วันถัดมาเรียกว่า "วันเนา" และวันสุดท้ายซึ่งเป็นวันเปลี่ยนจุลศักราชและเริ่มใช้กาลโยคประจำปีใหม่ เรียกว่า "วันเถลิงศก" จากหลักการข้างต้นนี้ ทำให้ปัจจุบันเทศกาลสงกรานต์มักตรงกับวันที่ 14-16 เมษายน (ยกเว้นบางปี เช่น พ.ศ. 2551 และ พ.ศ. 2555 ที่สงกรานต์กลับมาตรงกับวันที่ 13-15 เมษายน) อย่างไรก็ตาม ปฏิทินไทยในขณะนี้กำหนดให้เทศกาลสงกรานต์ตรงกับวันที่ 13-15 เมษายน ของทุกปี และเป็นวันหยุดราชการ

สงกรานต์ เป็นประเพณีเก่าแก่ของไทยซึ่งสืบทอดมาแต่โบราณคู่มากับประเพณีตรุษ จึงมีการเรียกรวมกันว่า ประเพณีตรุษสงกรานต์ หมายถึงประเพณีส่งท้ายปีเก่า และต้อนรับปีใหม่ คำว่าตรุษเป็นภาษาทมิฬ แปลว่าการสิ้นปี

พระพุทธศาสนา


ความหมายของคำว่า ศาสนา
คำว่า "ศาสนา" มาจากภาษาสันสกฤตว่า "สาสนํ" ถ้าเป็นภาษาบาลีว่า "สาสนํ" มีความหมายตามรูปศัพท์ว่า "คำสั่งสอน" ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า "Religion" ซึ่งมีศัพท์เดิมมาจากภาษาละตินว่า Religis คำนี้นักปราชญ์ทางภาษาศาสตร์ได้สันนิษฐานว่ามาจากคำ ๒ คำ คือ Relegere ซึ่งแปลว่า การปฏิบัติต่อ หรือการเกี่ยวข้องด้วยความระมัดระวัง และ Religare ซึ่งแปลว่า ผูกพัน เพราะฉะนั้นคำว่า Religion จึงมีความหมายตามรูปศัพท์ว่า การปฏิบัติต่อ การเกี่ยวข้อง แต่อย่างไรก็ตาม การจะพิจารณาความหมายตามรูปศัพท์เพียงอย่างเดียว อาจจะไม่สามารถครอบคลุมสารัตถะที่แท้จริงของศาสนาได้ จึงควรจะได้ศึกษาพิจารณาความหมายหรือคำจำกัดความตามเนื้อหาที่นักปราชญทางศาสนาได้ให้ไว้ ซึ่งจะแตกต่างกันไป ทั้งนี้แล้วแต่ประเด็นที่ต้องการเน้นและสภาพแวดล้อม

๑. Max Miller เน้นพุทธิปัญญา (Intellect) กล่าวว่า ศาสนา คือ ความสามารถหรืออตาจทางจิตซึ่งไม่ขึ้นแก่ความรู้สึกทางประสาทสัมผัสหรือเหตุผล สามารถนำบุคคลให้เข้าถึงพระเจ้าภายใต้พระนามต่างๆ

๒. Immanuel Kant เน้นศีลธรรม (Moral) กล่าวว่า ศาสนา คือ การยอมรับรู้ถึงหน้าที่ทั้งปวงตามเทวโองการ

๓. Allen Menses เน้นการบูชา (Worship) กล่าวว่า ศาสนา คือ การบูชาพลังที่สูงกว่า

๔. Edward Scribner Ams เน้นสังคม (Society) กล่าวว่า ศาสนา คือ ความรู้สึกถึงคุณค่าทางสังคมอันสูงสุด

๕. G.W. Stratton เน้นอุดมคติอันสูงส่ง (Supreme Ideal) กล่าวว่า ศาสนา คือ ความนิยมชมชอบถึงโลกและกลุ่มชนที่มองไม่เห็น

๖. Adams Brown เน้นชีวิต (Life) กล่าวว่า ศาสนา หมายถึงชีวิตของบุคคลในส่วนที่สัมพันธ์กับท่านผู้เหนือมนุษย์ธรรมดาของเขา

๗. หลวงวิจิตรวาทการ เน้นองค์ประกอบของศาสนา กล่าวว่า คำสอนที่จัดเป็นศาสนานั้นต้องเป็นเรื่องที่ถือว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ มีคำสอนทางจรรยา มีศาสดา มีคณะบุคคลที่รักษาความศักดิ์สิทธิ์และคำสอนไว้ เช่น พระหรือนักบวช และมีการกวดขันเรื่องความจงรักภักดี

๘. ศ. เสถียร พันธรังสี เน้นลักษณะของศาสนา กล่าวว่า ลักษณะที่เรียกว่าศาสนาได้ มีหลักดังนี้คือ ต้องเป็นเรื่องความเชื่อถือได้โดยมีความศักดิ์สิทธิ์ มีคำสอนทางธรรมจรรยา มีศาสดา และมีผู้สืบต่อคำสอนที่เรียกว่าพระหรือนักบวช

๙. อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ เน้นลักษณะคำสอน กล่าวว่า คำสอนที่นับว่าเป็นศาสนานั้นว่าด้วยเรื่องต่าง ๆ คือ ความเชื่อในอำนาจที่มองเห็นไม่ได้ด้วยตาบางอย่าง เช่น อำนาจของธรรม หรือ อำนาจของพระเจ้า มีหลักศีลธรรม มีคำสอนว่าด้วยจุดมุ่งหมายสูงสุดแห่งชีวิต และมีพิธีกรรม

๑๐. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้ให้ความหมายของศาสนาไว้ว่า ศาสนา คือ ลัทธิความเชื่อถือของมนุษย์อันมีหลักแสดงกำเนิดและสิ้นสุดของโลก เป็นต้น อันเป็นไปในง่ายปรมัตถ์ประการหนึ่ง แสดงหลักธรรมเกี่ยวกับบุญบาปอันเป็นไปในง่ายศีลธรรมประการหนึ่ง พร้อมทั้งลัทธิพิธีที่กระทำตามความเห็นหรือตามคำสั่งสอนในความเชื่อถือนั้นๆ

จากคำจำกัดความและทัศนะต่าง ๆ ที่กล่าวข้างต้น พอจะสรุปเป็นทัศนะอีกทัศนะหนึ่งได้ว่า

"ศาสนา คือ คำสั่งสอนที่พระศาสดาได้ค้นพบ หรือได้จากเทวโองการซึ่งมีลักษณะศักดิ์สิทธิ์เป็นที่พึ่งทางใจ ได้ถูกนำมาเผยแพร่ให้มวลมนุษยชาติประพฤติปฏิบัติตาม และประกอบพิธีกรรม เพื่อประสบสันติสุขในระดับศีลธรรมจรรยา และสันติภาพอันนิรันดร อันเป็นจุดหมายสูงสุดของชีวิต"

การประดิษฐ์ของเล่น

ตุ๊กตาห้อยขา



อุปกรณ์

กล่องนม หรือ กล่องน้ำผลไม้
กระดาษโปสเตอร์สีสวยเพื่อห่อกล่อง 2 สี
กระดาษโปสเตอร์สีดำชิ้นเล็กๆ เพื่อทำรองเท้า
ไหมพรม เพื่อเป็นส่วนผม
ลูกตาดุ๊ดดิ๊ก
กาว , กรรไกร
วิธีทำ

กล่องนม หรือ น้ำผลไม้ที่ดื่มหมดแล้วนำมาล้างให้สะอาด (อย่าตัดด้านบนของกล่องออก ควรตัดด้านหูกล่องเพียงข้างเดียว)
เมื่อกล่องแห้งดีแล้ว นำมาห่อด้วยกระดาษโปสเตอร์สีที่ต้องการ ใช้กาวติดด้านที่พับหัว-ท้ายให้เรียบสนิท
ทำส่วนขา และ แขน ตัดการดาษเป็นแถบยาว 10 นิ้ว และ 6 นิ้ว ตามลำดับ สร้างรอยหยักโดยพับสลับด้านเหมือนทำพัด
ใช้กาวติดแขนทั้งสองที่ด้านข้างกล่อง และติดขาทั้งสองที่ด้านใต้กล่อง
ตัดกระดาษโปสเตอร์สีดำเป็นสีเหลี่ยมเล็กๆติดที่ปลายเท้าทั้ง 2 ข้าง เพื่อแทนรองเท้า
แต่งหน้า โดยติดตาดุ๊ดดิ๊ก และวาดปาก
ใช้ไหมพรมตกแต่งทรงผมตามชอบ อาจเพิ่มดอกไม้เล็กๆหรือโบว์

การละเล่นเด็กไทย


การเล่นกับเด็กเป็นของคู่กันมาตั้งแต่กาลครั้งไหน คงไม่มีใครทราบได้ แต่การเล่นก็เป็นเรื่องที่สืบ เนื่องแสดงถึงเอกลักษณ์ของชนชาติหรือท้องถิ่นเป็นเรื่องที่ถ่ายทอดเข้าสู่กระแสชีวิตและตกทอดกันมาตั้งแต่ รุ่นปู่ย่าตายายของปู่ย่าตายายโน่น เอาตั้งแต่เมื่อเราเกิดมาลืมตาดูโลกก็คงจะได้เห็นปลาตะเพียนที่ผู้ใหญ่แขวน ไว้เหนือเปลให้เด็กดู “เล่น” เป็นการบริหารลูกตา แหวกว่ายอยู่ในอากาศแล้ว พอโตขึ้นมาสัก 3-4 เดือน ผู้ใหญ่ก็จะสอนให้เล่น “จับปูดำ ขยำปูนา” “แกว่งแขนอ่อน เดินไว ๆ ลูกร้องไห้ วิ่งไปวิ่งมา” โดยที่จะคิดถึงจุดประสงค์อื่นใดหรือไม่สุดรู้ แต่ผลที่ตามมานั้นเป็นการหัดให้เด็กใช้กล้ามเนื้อมือ กล้ามเนื้อแขนประสานกับสายตา



การละเล่นเป็นการส่งเสริมให้เด็ก ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และเป็นกิจกรรมที่แฝงไว้ ด้วยสัญลักษณ์ หากศึกษาการเล่นของเด็กในสังคม เท่ากับได้ศึกษาวัฒนธรรมของสังคมนั้นด้วย การละเล่นของเด็กไทย มีความหลากหลาย เช่น หมากเก็บ ว่าว โพงพาง รีรีข้าวสาร เป็นต้น



การละเล่นของเด็กแบบไทย ๆ มีมาตั้งแต่เมื่อไร

ชนชาติไทยมีมาตั้งแต่เมื่อไร การละเล่นแบบไทย ๆ ก็น่าจะมีมาแต่เมื่อนั้นแหละ ถ้าจะเค้นให้เห็นกันเป็นลายลักษณ์อักษร ก็คงต้องขุดศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง มาอ้างพอเป็นหลักฐานได้ราง ๆ ว่า

“..ใครจักมักเล่น เล่น ใครจักมักหัว หัว ใครจักมักหัว หัว ใครจักมักเลื่อน เลื่อน...”
ในตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ มีการกล่าวถึงการละเล่นของคนสมัยนั้นว่า
“...เดือนยี่ถึงการพระราชพิธีบุษยาภิเษก เถลิงพระโค กินเลี้ยงเป็นนักขัตฤกษ์ หมู่นางในก็ได้ดูชุดชักว่าวหง่าวฟังสำเนียง เสียงว่าว ร้องเสนาะลั่นฟ้าไปทั้งทิวาราตรี...”
ในสมัยอยุธยา บทละครกรุงเก่าได้กล่าวถึงการละเล่นบางอย่างที่คุณคงจะคุ้นเคยดีเมื่อสมัยยังเด็ก คือลิงชิงหลักและปลาลงอวน ในบทที่ว่า
“เมื่อนั้น โฉมนวลพระพี่ศรีจุลา ว่าเจ้าโฉมตรูมโนห์รา มาเราจะเล่นกระไรดี เล่นให้สบายคลายทุกข์ เล่นให้สนุกในวันนี้ จะเล่นให้ขันกันสักทีเล่นให้สนุกกันจริงจริง มาเราจะวิ่งลิงชิงเสา ช้างโน้นนะเจ้าเป็นแดนพี่ ช้างนี้เป็นแดนเจ้านี้ เล่นลิงชิงเสาเหมือนกัน ถ้าใครวิ่งเร็วไปข้างหน้า ถ้าใครวิ่งช้าอยู่ข้างหลัง เอาบัวเป็นเสาเข้าชิงกัน ขยิกไล่ผายผันกันไปมา
เมื่อนั้น โฉมนวลพระพี่ศรีจุลา บอกเจ้าโฉมตรูมโนห์รา มาเราจะเล่นปลาลงอวน บัวผุดสุดท้องน้องเป็นปลา ลอยล่องท่องมาเจ้าหน้านวลจะขึงมือกันไว้เป็นสายอวน ดักท่าหน้านวลเจ้าล่องมา ออกหน้าที่ใครจับตัวได้ คุมตัวเอาไว้ว่าได้ปลา
ในเรื่อง “อิเหนา” วรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์ก็ปรากฏการละเล่นหลายอย่าง เช่น ตะกร้อ จ้องเต ขี่ม้าส่งเมือง ดังว่า

“...บ้างตั้งวงเตะตะกร้อเล่น
เพลาเย็นแดดร่มลมสงัด
ปะเตะโต้คู่กันเป็นสันทัด
บ้างถนัดเข้าเตะเป็นน่าดู
ที่หนุ่มหนุ่มคะนองเล่นจ้องเต
สรวลเสเฮฮาขึ้นขี่คู่
บ้างรำอย่างชวามลายู
เป็นเหล่าเหล่าเล่นอยู่บนคิรี”

หรือในขุนช้างขุนแผนกก็กล่าวถึงการละเล่นไม้หึ่งไว้ว่า
“...เมื่อกลางวันยังเห็นเล่นไม้หึ่ง
กับอ้ายอึ่งอีดูกลูกอีมี
แล้วว่าเจ้าเล่าก็ช่างนั่งมึนมี
ว่าแล้วซิอย่าให้ลงในดิน”

วันพุธที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การทำขนมเ็ค้ก

วิธีทำขนมไทย ทีละขั้นตอน

1. ผสมเนย, กล้วย และโซดาไบคาร์บอเนต ตีจนขึ้นฟู

2. ผสมน้ำตาลทรายและไข่เข้าด้วยกัน ตีจนขึ้นฟู จากนั้นจึงแบ่งเป็นสองส่วน ส่วนแรกนำไปตีผสมกับเนยและกล้วย (ที่เตรียมไว้ในขั้นตอนที่หนึ่ง) คนให้เข้ากัน

3. ร่อนแป้งและผงฟูรวมกัน จากนั้นจึงนำส่วนผสมไข่กับน้ำตาลทรายส่วนที่แบ่งไว้อีกส่วนมาผสมกัน คนให้เข้ากันดี

4. นำส่วนผสมทั้งสองส่วนมาผสมเคล้ากันให้ทั่ว จากนั้นจึงเทส่วนผสมลงในแบบหรือพิมพ์ที่เตรียมไว้ จากนั้นจึงนำไปอบที่อุณหภูมิ 430 องศาฟาเรนไฮต์จนสุก