ท่่ารำจาก ทรูปลูกปัญญา

วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2555

การทำความสะอาดบ้าน

กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานบ้าน) รหัส ง 3111 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ผู้สอน นางสารภี พลศักดิ์ เรื่อง การทำความสะอาดบ้านและบริเวณบ้าน การศึกษาเรื่องการทำความสะอาดบ้านและบริเวณบ้าน สามารถแบ่งออกได้ดังนี้ 1. การทำบ้านให้น่าอยู่ บ้านเป็นสถานที่ให้สมาชิกในครอบครัวได้อยู่อาศัยพักผ่อนนอนหลับ ให้ความปลอดภัย ความสบายกายและความสบายใจแก่สมาชิกทุกคนในครอบครัว บ้านแต่ละหลังมีรูปแบบการสร้างที่แตกต่างกันด้วยองค์ประกอบหลาย ๆ อย่าง ลักษณะของบ้านจะเป็นเช่นไร สมาชิกในบ้านก็สามารถทำให้บ้านน่าอยู่ น่าอาศัยได้ ด้วยการเอาใจใส่ดูแลรักษาทำความสะอาดบ้านอย่างสม่ำเสมอ ดังนั้นการทำความสะอาดบ้านให้มีสภาพเรียบร้อย จนเป็นที่สะดุดตาก็สามารถดึงดูดความสนใจให้สมาชิกในครอบครัวไดอยู่อาศัยอย่างมีความสุขมากกว่าบ้านที่ขาดการรักษาความสะอาด หลักในการทำความสะอาดบ้านให้น่าอยู่ 1.1 การทำความสะอาด ความสะอาดเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้บ้านน่าอยู่ การทำความสะอาด ปัดกวาด เช็ดถูเป็นประจำ ทำให้เครื่องเรือนเครื่องใช้ปราศจากความสกปรกแม้แต่บริเวณบ้าน รั้ว สนาม ทางเดินเข้าบ้านสะอาด ร่มรื่น ปราศจากขยะมูลฝอยต่าง ๆ 1.2 การสร้างความสะดวกสบาย จัดแบ่งพื้นที่บริเวณบ้านให้เกิดการใช้สอยที่เป็นสัดส่วน เดินไปมาสะดวกและมีแสงแดดส่องถึง ระบายอากาศได้ดี มีการจัดวางสิ่งของเครื่องใช้อำนวยความสะดวกไว้อย่างเหมาะสม สะดวกในการหยิบใช้และการทำกิจกรรมต่าง ๆ 1.3 การตกแต่งให้สวยงาม นอกจากการจัดวางสิ่งของเครื่องใช้ให้เหมาะสมดังที่กล่าวในข้อที่ผ่านมา การจัดตกแต่งให้เป็นระเบียบ ไม่เกะกะ การจัดวางสิ่งของให้เกิดความสมดุล การใช้สี การตกแต่งผ้าม่าน เพื่อให้ดูสบายตาก็สามารถทำให้บ้านสวยงามน่าอยู่ยิ่งขึ้น 1.4 การจัดบ้านให้เกิดความปลอดภัย การจัดบ้านให้มีความปลอดภัยจากอุบัติเหตุต่าง ๆ เช่น มีลูกกรงที่ระเบียงกันพลัดตกบันไดให้แข็งแรง เก็บยา สารเคมีให้พ้นจากมือเด็ก ทำความสะอาดบ้าน บริเวณบ้านให้ปราศจากตะไคร่จับทำให้ลื่นในขณะทำกิจกรรม ปลูกบ้านห่างไกลจากสิ่งปฏิกูลและแหล่งแพร่เชื้อโรคหรือมีวิธีการป้องกันที่ถูกต้องเหมาะสม ถ้าหากไม่สามารถหลีกเลี้ยงได้ 2. การวางแผนใช้ทรัพยากรในการทำความสะอาด ทรัพยากรในการทำความสะอาดที่มีอยู่ภายในบ้าน ควรคำนึงถึงการวางแผนการทำ ความสะอาดทั้งภายในและภายนอกบ้าน มีดังนี้ 2.1 เวลาที่จะใช้ในการทำความสะอาด 2.2 แรงงานที่จะใช้ในการทำความสะอาด 2.3 วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือที่จะใช้ในการทำความสะอาด การทำความสะอาดทั้งภายในบ้านและบริเวณภายนอกตัวบ้าน จะมีประสิทธิภาพสูงสุด ก็ต่อเมื่อผู้ทำความสะอาดได้วางแผนการทำงานอย่างรอบคอบและรัดกุม ลงมือทำงานตามแผนที่วางไว้ ตรวจสอบการทำงานและประเมินผลการทำงานในทุก ๆ งานที่ได้ทำไป ว่าได้ผลตามที่ต้องการหรือไม่ เพื่อจะได้พิจารณาปรับปรุงทั้งการวางแผนการทำความสะอาดและวิธีการทำงานในคราวต่อไป การวางแผนในการใช้ทรัพยากรที่เกี่ยวกับการทำความสะอาดคือ การใช้เวลา แรงงานและวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือเหล่านี้ช่วยลดความสูญเสียทรัพยากรทั้งสามประการที่ไม่จำเป็นลงได้ 3. การเลือกใช้อุปกรณ์และเครื่องมือในการทำความสะอาดบ้าน อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้และเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เรานำมาใช้ในการทำความสะอาดบ้าน ทั้งภายในตัวบ้านและบริเวณภายนอกตัวบ้านนั้น สามารถแบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ ได้ดังนี้ 3.1 อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการปัดกวาด ได้แก่ – ไม้กวาดดอกหญ้า – ไม้กวาดทางมะพร้าว – ไม้กวาดด้ามยาวหรือไม้กวาดเสี้ยนตาล – ไม้กวาดขนไก่ – ไม้กวาดไม้ไผ่ – เครื่องดูดฝุ่น 3.2 อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการเช็ด ขัดและถู – ผ้าสำหรับเช็ดถู – ฟองน้ำ – แผ่นขัด – แปรงพลาสติก – แปรงกาบมะพร้าว – ไม้ถูพื้นธรรมดา – ไม้ถูพื้นชนิดซักและบิดในตัว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น