ท่่ารำจาก ทรูปลูกปัญญา

วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

การทำดอกไม้

ขั้นตอนการทำดอกไม้จากกระดาษสา การทำดอกไม้จากกระดาษสาในชุดวิชานี้ได้เลือกทำดอกไม้ที่เห็นว่าจะนำไปใช้ในการประดับและตกแต่งผลิตภัณฑ์กระดาษสา หรือจะนำไปใช้ตกแต่งของใช้บางอย่างให้สวยงามตามความเหมาะสมก็ได้ ทำพวงดอกไม้แขวนสำหรับประดับฝาผนัง และนำไปปักแจกัน เป็นต้น ดอกไม้จากกระดาษสาที่นิยมกันหลายชนิด เช่น ดอกมะลิซ้อน ดอกกุหลาบ และดอกกล้วยไม้แคทลียา วิธีการทำดอกไม้จากกระดาษสาแต่ละชนิดมีดังนี้ การทำดอกมะลิซ้อน ดอกมะลินอกจากจะมีความสวยงามในตัวของมันเองแล้ว ยังใช้เป็นสัญลักษณ์แทนความหมายได้หลายอย่าง อาทิ การแสดงความเคารพบูชา เช่น นำไปบูชาพระ และกราบไหว้ผู้ใหญ่ เป็นตัวแทนวันแม่ นอกจากนี้ ยังเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติของประเทศอินโดนีเซีย เป็นต้น การทำดอกมะลิจากกระดาษสา มีขั้นตอนการทำดังนี้ วัสดุอุปกรณ์ มีดังนี้ 1. กระดาษสาสีขาวชนิดบาง 2. สีเหลือง น้ำเงิน เขียว 3. ลวด เบอร์ 24 4. สีย้อมสีเหลือง น้ำเงิน เขียว 5. กาวลาเท็กซ์ 6. เหล็กแหลม 2 วิธีตัดกลีบดอก ใช้กระดาษลอกลาย คัดลอกกลีบดอกและใบจากตัวอย่างลงบนกระดาษแข็งสีเทา-ขาว แล้วตัดเป็นต้นแบบละอัน แล้วจึงนำไปทาบกับกระดาษสาที่เตรียมไว้สำหรับทำกลีบดอกและใบ ตามรายการดังนี้ จำนวนกลีบดอกและใบที่ใช้ ภาพขยาย กลีบดอก ก ข ค ง ดอกบานใหญ่ 2 2 3 2 ดอกบานเล็ก 2 2 3 1 ดอกแย้ม 2 2 - - ดอกแย้ม 2 3 - - ดอกตูมใหญ่ 2 3 - - ดอกตูมเล็ก 2 - - - กลีบเลี้ยง 1 - - - และใบ ต้องการ 4 ขนาด ๆ ละ 2 ใบ 3. วิธีผสมสี ผสมสี โดยแยกออกเป็น 2 ถ้วย ๆ หนึ่งเป็นสีโศกอ่อน อีกถ้วยหนึ่งเป็นสีโศกอ่อนมากกว่าถ้วยแรกเกือบจะเป็นสีขาว โดยเติมน้ำลงไป สีน้ำเงิน (น้อย) + สีเหลือง (มาก) = สีโศก สีเขียว + สีเหลือง = สีเขียว 4. วิธีระบายสี ก่อนที่จะลงมือย้อมสีกลีบ ให้จับคู่กลีบดอก ก ข ค ง ให้เป็นกลุ่มตามลำดับ โดยให้วางซ้อนสับหว่างกัน ทั้งนี้เพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการแยกกลีบดอกนำไปผึ่งลมให้แห้ง ต่อจากนั้นให้รวบรวมกลีบดอกกลุ่มละประมาณ 6-7 คู่ จุ่มลงไปในถ้วยสีโศกอ่อนมาก ๆ แช่ทิ้งไว้ให้อิ่มตัวสักครู่ แล้วจึงใช้นิ้วบีบให้น้ำออกบ้าง วางเรียงกันบนกระจกจับกันเป็นคู่ ๆ ตามที่จัดเอาไว้ไม่ต้องแยกคู่ วางห่างกันประมาณ 1 เซนติเมตร ทิ้งไว้พอหมาด แล้วนำพู่กันเบอร์ 6 จุ่มสีโศก (เข้ม) ระบายตรงกลางดอกให้เป็นวงกลม สำหรับกลีบเลี้ยงก็ให้ระบายด้วยสีโศกเช่นเดียวกัน ส่วนในให้ระบายด้วยสีเขียวที่เตรียมไว้ ต่อจากนั้นให้นำกลีบดอกที่ย้อมเสร็จแล้วไปผึ่งลมทิ้งไว้ให้แห้ง ห้ามนำไปตากแดดเพราะจะทำให้สีซีดและด่าง 5. วิธีทำใบ นำใบที่ตากแห้งแล้วมาติดลวดสีเขียวที่ใช้สำหรับดามใบ แล้วใช้ที่รีดรูปใบมีดกรีดตามเส้นลวดที่ดามไว้กรีดตามร่องใบและกรีดเป็นแฉกตามเส้นใบ เป็นการเลียนแบบธรรมชาติ การทำวิธีนี้ใช้ในกรณีที่ไม่มีพิมพ์อัดกลีบกุหลาบ อัดใบ ซึ่งสามารถทำได้ผลใกล้เคียงกัน หรือจะใช้วิธีบิดเป็นเกลียวเช่นเดียวกับการบิดกลีบดอกดังจะได้กล่าวต่อไปก็ได้ 6. วิธีบิดกลีบดอก นำกลีบดอกที่ผึ่งลมแห้งแล้วมาซ้อนกัน 3 กลีบ เจาะรูให้ได้กึ่งกลางกลีบด้วยเหล็กแหลมแล้วจึงพับบิดกลีบดอกให้เป็นเกลียว โดยเริ่มต้นที่ปลายกลีบให้ใช้ปลายเล็บหัวแม่มือจิกลงบนปลายกลีบ แล้วจับกลีบด้านล่างบิดเป็นเกลียวให้แน่นโดยเลื่อนนิ้วมือลงไปทีละน้อย ทำเช่นนี้จนครบทุกกลีบและทุกขนาด จากนั้นให้คลี่กลีบดอกออกเบา ๆ จัดกลีบให้เป็นอุ้งตรงกลางกลีบและปลายบานออกเล็กน้อย แล้วนำไปเข้าดอกใบต่อไป 7. วิธีเข้ากลีบดอก ตัดลวดที่เตรียมไว้สำหรับทากาวก้านดอกยาว 3-4 เซนติเมตร งอปลายแล้วจุ่มลงไปในกาวพอติด แล้วนำสำลีมาปั้นเป็นก้อนกลมรอบเส้นลวดใช้นิ้วมือแตะกาวเล็กน้อยจับสำลีหมุนเป็นก้อนกลมให้เรียบและแน่น แล้วทากาวโดยรอบนำไปเข้าดอกตูม ดังภาพ วิธีเข้าดอก ใช้สำลีปั้นให้กลมกับลวด แล้วเจาะรูกลางกลีบดอกทุกกลีบ แล้วเข้าตามลำดับขนาดกลีบ ดังรูปดอกตูม สำหรับการเข้าดอกแย้มและดอกบานมีวิธีการเข้าเช่นเดียวกัน คือ ทากาวบนกลีบตูมโดยรอบแล้วนำกลีบที่เตรียมไว้มาติดเข้าให้สับหว่างกันทีละชั้นจนครบทุกกลีบทุกขนาด แล้วเสริมโคนดอกด้วยสำลีแล้วปิดด้วยกลีบเลี้ยง 8. วิธีเข้าช่อ นำดอกบาน ดอกแย้งและดอกตูมที่ทำเสร็จแล้วมาเข้าช่อกับใบ ให้ทำเหมือนดอกไม้ธรรมชาติ ตกแต่งให้สวยงามเหมาะสำหรับปักแจกันหรือจะทำเป็นช่อใช้เป็นดอกไม้ติดเสื้อก็ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น