ท่่ารำจาก ทรูปลูกปัญญา

วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

การฟัง

การฟัง คือ การรับรู้ความหมายจากเสียงที่ได้ยิน เป็นการรับรู้สารทางหู ในชีวิตประจำวันของเรา เราใช้เวลานการฟัง ทั้งที่ฟังจากบุคคลโดยตรง และฟังจากจากสื่ออิเล็คทรอนิคส์ต่างๆ เพราะข่าวสาร ความรู้และศิลปะวิทยาการต่องๆ ที่มนุษย์ถ่ายทอดกันตั้งแต่สมัยโบราณจนถึง ปัจจุบัน ยังใช้วิธีการพูดอธิบายให้ฟังแม้จะมีหนังสือบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรแล้วก็ตาม หลัการฟังที่ดี การฟังที่ดีมีหลักสำคัญคือ 1. ฟังให้ตรงตามความมุ่งหมาย โดยทั่วไปแล้หลักการฟังมีความมุ่งหมายหลัก 3 ประการ 1.1 ฟังเพื่อความเพลิดเพลิน ได้แก่ การฟังเรื่องราวที่สนุกสนาน 1.2 ฟังเพื่อความรู้ ได้แก ่ การฟังเรื่องราวทางวิชาการ ข่าวสารและข้อเสนอแนะต่าง ๆ 1.3 ฟังเพื่อให้ได้คติชีวิตหรือความจรรโลงใจ ได้แก่ การฟังที่ก่อให้เกิดสติปัญญา ความสุขุมและวิจารณญาณ เพื่อเชิดชูจิตใจให้สูงขึ้น ประณีตขึ้น 2. ฟังโดยมีความพร้อม ความพร้อมในที่นี้ หมายถึง ความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ และความพร้อมทางสติปัญญา ความพร้อมทางร่างกาย หมายถึง การมีสุขภาพทางร่างกายเป็นปกติ ไม่เหนื่อย ไม่อิดโรย ความพร้อมทางจิตใจ หมายถึง การมีพื้นฐานความรู้ความเข้าใจอย่างเพียงพอ 3.ฟังโดยมีสมาธิ หมายถึง ฟังด้วยความตั้งใจมั่น จดจ่ออยู้กับเรื่องที่ฟัง ไม่ปล่อยจิตใตให้เลื่อนลอยไปที่อื่น 4. ฟังด้วยความกระตือรือร้น ผู้ที่ฟังด้วยความกระตือรือร้นมักจะเป็นผู้ฟังที่มองเห็นประโยชน์หรือเห็นคุณค่า จึงสนใจเรื่องที่ตนจะฟัง 5. ฟังโดยไม่อคติ ผู้ฟังโดยไม่อคติต้องพิจารณาให้ละเอียดถี่ถ้วน ไม่เป็นโทษแก่ผู้อื่น

วันอัฐมีบูชา

วันอัฏฐมีบูชา จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ส่วนหนึ่งของ ศาสนาพุทธ สถานีย่อย ประวัติศาสนาพุทธ ศาสดา พระโคตมพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้า) จุดมุ่งหมาย นิพพาน ไตรรัตน์ พระพุทธ · พระธรรม · พระสงฆ์ ความเชื่อและการปฏิบัติ ศีล (ศีลห้า) · ธรรม (เบญจธรรม) สมถะ · วิปัสสนา บทสวดมนต์และพระคาถา คัมภีร์และหนังสือ พระไตรปิฎก พระวินัยปิฎก · พระสุตตันตปิฎก · พระอภิธรรมปิฎก หลักธรรมที่น่าสนใจ ไตรลักษณ์ อริยสัจ ๔ · มรรค ๘ · อิทัปปัจจยตา นิกาย เถรวาท · อาจริยวาท (มหายาน) · วัชรยาน · เซน สังคมศาสนาพุทธ ปฏิทิน · บุคคล · วันสำคัญ · ศาสนสถาน · วัตถุมงคล การจาริกแสวงบุญ พุทธสังเวชนียสถาน · การแสวงบุญในพุทธภูมิ ดูเพิ่มเติม อภิธานศัพท์ศาสนาพุทธ หมวดหมู่ศาสนาพุทธ วันอัฏฐมีบูชา คือวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (หลังเสด็จดับขันธปรินิพพานได้ 8 วัน) ถือเป็นวันสำคัญในพระพุทธศาสนาวันหนึ่ง ตรงกับวันแรม 8 ค่ำ เดือนวิสาขะ (เดือน 6 ของไทย) นอกจากนั้น วันนี้เป็นวันคล้ายวันที่พระนางสิริมหามายา องค์พระพุทธมารดาสิ้นพระชนม์ (หลังประสูติ) และเป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธองค์ทรงเสวยวิมุตติสุขตลอด 7 วัน (หลังตรัสรู้) อีกด้วย เนื้อหา [ซ่อน] 1 ประวัติ 2 ประวัติพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพในพุทธประวัติ 3 สถานที่สำคัญเนื่องด้วยวันอัฏฐมีบูชา (พุทธสังเวชนียสถาน) 3.1 สถานที่สำคัญเนื่องด้วยการถวายพระเพลิงศพ (กุสินารา) 3.1.1 ที่ตั้ง 3.1.2 กุสินาราในสมัยพุทธกาล 3.1.3 กุสินาราหลังพุทธปรินิพพาน 3.1.4 จุดแสวงบุญและสภาพของกุสินาราในปัจจุบัน 4 ความสำคัญ 5 ประเพณีวันอัฏฐมีบูชาในประเทศไทย 5.1 ประเพณีการถวายพระเพลิงพระบรมศพจำลอง 6 หลักธรรมที่เกี่ยวข้อง 7 อ้างอิง [แก้]ประวัติ เมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เสด็จปรินิพพานไปแล้ว 7 วัน มัลละกษัตริย์แห่งเมืองกุสินารา พร้อมด้วยประชาชน และพระสงฆ์อันมีพระมหากัสสปเถระเป็นประธาน ได้พร้อมกันกระทำการถวายพระเพลิงพุทธสรีระ ณ มกุฏพันธนเจดีย์ แห่งเมืองกุสินารา เป็นวันหนึ่งที่ชาวพุทธต้องมีความโศกเศร้าเสียใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะการสูญเสียแห่งพระพุทธสรีระ เมื่อวันแรม 8 ค่ำ เดือน 6 ซึ่งนิยมเรียกกันว่าวันอัฏฐมีนั้น เมื่อเวียนมาบรรจบแต่ละปี พุทธศาสนิกชนได้พร้อมกันประกอบพิธีบูชาขึ้น เป็นการเฉพาะ เช่นที่ปฏิบัติกันอยู่ในวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ เป็นต้น แต่จะปฏิบัติกันมาแต่เมื่อใด ไม่พบหลักฐาน ปัจจุบันนี้ก็ยังถือปฏิบัติกันอยู่ [แก้]ประวัติพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพในพุทธประวัติ พิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพมีขึ้นในวันที่ 8 หลังจากพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จปรินิพพานใต้ต้นสาละในราตรี 15 ค่ำ เดือน 6 โดยพวกเจ้ามัลลกษัตริย์จัดบูชาด้วยของหอม ดอกไม้ และเครื่องดนตรีทุกชนิด ที่มีอยู่ใน เมืองกุสินาราตลอด 7 วัน แล้วให้เจ้ามัลละระดับหัวหน้า 8 คน สรงเกล้า นุ่งห่มผ้าใหม่ อัญเชิญพระสรีระไปทางทิศตะวันออก ของพระนคร เพื่อถวาย พระเพลิง พวกเจ้ามัลละถามถึงวิธีปฏิบัติพระสรีระกับพระอานนท์เถระ แล้วทำตามคำของพระเถระนั้นคือ ห่อพระสรีระด้วยผ้าใหม่แล้วซับด้วยสำลี แล้วใช้ผ้าใหม่ห่อทับอีก ทำเช่นนี้จนหมดผ้า 500 คู่ แล้วเชิญลงในรางเหล็กที่เติมด้วยน้ำมัน แล้วทำจิตกาธานด้วยดอกไม้จันทน์ และของหอมทุกชนิด จากนั้นอัญเชิญ พวกเจ้ามัลละระดับหัวหน้า 4 คน สระสรงเกล้า และนุ่งห่มผ้าใหม่ พยายามจุดไฟที่เชิงตะกอน แต่ก็ไม่อาจให้ไฟติดได้ จึงสอบถามสาเหตุ พระอนุรุทธะ พระเถระ แจ้งว่า "เพราะเทวดามีความประสงค์ให้รอพระมหากัสสปะ และภิกษุหมู่ใหญ่ 500 รูป ผู้กำลังเดินทางมาเพื่อถวายบังคมพระบาทเสียก่อน ไฟก็จะลุกไหม้" ก็เทวดา เหล่านั้น เคยเป็นโยมอุปัฏฐากของพระเถระ และพระสาวกผู้ใหญ่มาก่อน จึงไม่ยินดีที่ไม่เห็นพระมหากัสสปะอยู่ในพิธี และเมื่อภิกษุหมู่ 500 รูปโดยมีพระมหากัสสปะเป็นประธานเดินทางมาพร้อมกัน ณ ที่ถวายพระเพลิงแล้ว ไฟจึงลุกโชนขึ้นเองโดยไม่ต้องมีใครจุด หลังจากที่พระเพลิงเผาซึ่งเผาไหม้พระพุทธสรีระดับมอดลงแล้ว บรรดากษัตริย์มัลละทั้งหลายจึงได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุทั้งหมด ใส่ลงในหีบทองแล้วนำไปรักษาไว้ภายในนครกุสินารา ส่วนเครื่องบริขารต่างๆ ของพระพุทธเจ้าได้มีการอัญเชิญไปประดิษฐานตามที่ต่างๆ อาทิ ผ้าไตรจีวร อัญเชิญไปประดิษฐานที่แคว้นคันธาระ บาตรอัญเชิญไปประดิษฐานที่เมืองปาตลีบุตร เป็นต้น และเมื่อบรรดากษัตริย์จากแคว้นต่างๆ ได้ทราบว่าพระพุทธเจ้าได้เสด็จดับขันธปรินิพพานที่นครกุสินารา จึงได้ส่งตัวแทนไปขอแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ เพื่อนำกลับมาสักการะยังแคว้นของตนแต่ก็ถูกกษัตริย์มัลละปฏิเสธ จึงทำให้ทั้งสองฝ่ายขัดแย้งและเตรียมทำสงครามกัน แต่ในสุดเหตุการณ์ก็มิได้บานปลาย เนื่องจากโทณพราหมณ์ได้เข้ามาเป็นตัวกลางเจรจาไกล่เกลี่ย เพื่อยุติความขัดแย้งโดยเสนอให้แบ่งพระบรมสารีริกธาตุออกเป็น 8 ส่วนเท่าๆ กัน ซึ่งกษัตริย์แต่ละเมืองทรงสร้างเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ตามเมืองต่างๆ ดังนี้ กษัตริย์ลิจฉวี ทรงสร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่เมืองเวสาลี กษัตริย์ศากยะ ทรงสร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่เมืองกบิลพัสดุ์ กษัตริย์ถูลิยะ ทรงสร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่เมืองอัลลกัปปะ กษัตริย์โกลิยะ ทรงสร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่เมืองรามคาม มหาพราหมณ์ สร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่เมืองเวฏฐทีปกะ กษัตริย์มัลละแห่งเมืองปาวา ทรงสร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่เมืองปาวา พระเจ้าอชาตศัตรู ทรงสร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่เมืองราชคฤห์ มัลลกษัตริย์แห่งกุสินารา ทรงสร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่เมืองกุสินารา กษัตริย์เมืองโมริยะ ทรงสร้างสถูปบรรจุพระอังคาร (อังคารสถูป) ที่เมืองปิปผลิวัน โทณพราหมณ์ สร้างสถูปบรรจุทะนานตวงพระบรมสารีริกธาตุ ที่เมืองกุสินารา (ทะนานตวงพระบรมสารีริกธาตุแจก, คำว่า ตุมพะ แปลว่า ทะนาน, บางทีเรียกสถูปนี้ว่า ตุมพสถูป) สำหรับกรณีของกษัตริย์เมืองโมริยะนั้น ได้ส่งผู้แทนมาหลังจากที่โทณพราหมณ์แบ่งพระบรมสารีริกธาตุให้ทั้ง 8 เมืองไปแล้วจึงได้อัญเชิญพระอังคารไปแทน ส่วนโทณพราหมณ์ ก็ได้สร้างสถูปบรรจุทะนานที่ใช้สำหรับตวงพระบรมสารีริกธาตุสำหรับตนเอง และผู้คนได้สักการะดังที่ได้กล่าวไป [แก้]สถานที่สำคัญเนื่องด้วยวันอัฏฐมีบูชา (พุทธสังเวชนียสถาน) จุดหมายแสวงบุญใน แดนพุทธภูมิ พุทธสังเวชนียสถาน ๔ ตำบล ลุมพินีวัน • พุทธคยา สารนาถ • กุสินารา เมืองสำคัญในสมัยพุทธกาล สาวัตถี • ราชคฤห์ สังกัสสะ • เวสาลี ปาฏลีบุตร • คยา โกสัมพี • กบิลพัสดุ์ เทวทหะ • เกสเรียสถูป ปาวา • พาราณสี นาลันทา อารามสำคัญในสมัยพุทธกาล วัดเวฬุวันมหาวิหาร วัดเชตวันมหาวิหาร สถานที่สำคัญหลังพุทธกาล สาญจิ • มถุรา ถ้ำเอลโลรา • ถ้ำอชันตา มหาวิทยาลัยนาลันทา แม่แบบ • พูดคุย • แก้ไข มหาปรินิพพานวิหาร ภายในสาลวโนทยาน [แก้]สถานที่สำคัญเนื่องด้วยการถวายพระเพลิงศพ (กุสินารา) ดูบทความหลักที่ กุสินารา [แก้]ที่ตั้ง กุสินาราเป็นพุทธสังเวชนียสถานที่สำคัญ 1 ใน 4 สังเวชนียสถานของชาวพุทธ เป็นสถานที่เสด็จดับขันธปรินิพพานแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตั้งอยู่ที่ตำบลมถากัวร์ อำเภอกุสินคร หรือกาเซีย หรือกาสยา (โรมัน:Kushinagar-Kasia-Kasaya) ในเขตจังหวัดเดวเย หรือ เทวริยา (โรมัน:Devria-Devriya-Kasia-Kasaya) รัฐอุตรประเทศ ประเทศอินเดีย สาลวโนทาย สถานที่เสด็จดับขันธปรินิพพาน มีชื่อเรียกในท้องถิ่นว่า มาถากุนวะระกาโกฏ (โรมัน:Matha-Kunwar-Ka-Kot) ซึ่งแปลว่า ตำบลเจ้าชายสิ้นชีพ [แก้]กุสินาราในสมัยพุทธกาล ในสมัยพุทธกาล เมืองกุสินาราอันเป็นที่ตั้งของสาลวโนทยานอยู่ในแคว้นมัลละ 1 ใน 16 แคว้น ซึ่งเป็นเขตการปกครองสมัยพุทธกาล โดยในสมัยนั้นแคว้นมัลละแยกเป็นสองส่วน คือ ฝ่ายเหนือมีเมืองกุสินาราเป็นเมืองหลวง เจ้าปกครองเรียกว่า "โกสินารกา" และฝ่ายใต้มีเมืองปาวาเป็นเมืองหลวง เจ้าปกครองเรียกว่า "ปาเวยยมัลลกะ" ทั้งสองเมืองนั้นตั้งอยู่ห่างกันเพียง 12 กิโลเมตร มีอำนาจในการบริหารแยกจากกัน โดยมีระบอบการปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ (สามัคคีธรรม) โดยมีแม่น้ำหิรัญญวดีคั่นตรงกลาง กุสินารานั้นเมื่อเปรียบเทียบกับแคว้นอื่น ๆ ในสมัยพุทธกาล จัดว่าเป็นแคว้นเล็ก ไม่ค่อยมีความสำคัญมากนักในด้านเศรษฐกิจ ดังที่พระอานนท์ได้ทูลทักท้วงพระพุทธองค์ที่ทรงเลือกเมืองกุสินาราเป็นสถานที่ปรินิพพานไว้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์อย่าเสด็จปรินิพพานในเมืองดอนในฐานะเมืองกิ่งนี้เลย เมืองอื่นอันมีขนาดใหญ่กว่านี้ยังมีอยู่คือ จัมปา ราชคฤห์ สาวัตถี สาเกต โกสัมพี พาราณสี ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงเสด็จดับขันธปรินิพพานในเมืองเหล่านี้เถิด กษัตริย์ผู้มีอำนาจ พราหมณ์ผู้มีบารมี เศรษฐีคหบดีผู้มั่งคั่งที่เลื่อมใสในพระองค์มีมากในเมืองเหล่านี้ ท่านผู้มีอำนาจเหล่านั้นจักได้กระทำการบูชาพระสรีระของตถาคต — พระอานนท์[1] สถานที่ปรินิพพานของพระพุทธองค์อยู่ในพระราชอุทยานของเจ้ามัลละฝ่ายเหนือแห่งกุสินารา ชื่อว่า "อุปวตฺตนสาลวนํ" หรือ อุปวัตตนะสาลวัน ซึ่งในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาเรียกว่า สาลวโนทยาน แปลว่า สวนป่าไม้สาละ ป่าแห่งนี้ตั้งอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำหิรัญญวดี เป็นป่าไม้สาละร่มรื่น ซึ่งหลังการปรินิพพานของพระพุทธองค์แล้ว กษัตริย์แห่งมัลละก็ได้ประดิษฐานพระพุทธสรีระไว้ ณ เมืองกุสินาราเป็นเวลากว่า 7 วัน ก่อนที่จะประกอบพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ณ มกุฏพันธนเจดีย์ ในวันที่ 8 แห่งพุทธปรินิพพาน การที่พระพุทธองค์ทรงเลือกเมืองกุสินาราอันเป็นเมืองเล็กแห่งนี้เป็นสถานที่ปรินิพพาน มีหลายสาเหตุ แต่สาเหตุสำคัญ คือ ทรงทราบดีว่าเมื่อพระองค์ปรินิพพานไปแล้ว พระสรีระและพระบรมสารีริกธาตุของพระองค์จักถูกแว่นแคว้นต่าง ๆ แย่งชิงไปทำการบูชา หากพระองค์ปรินิพพานในเมืองใหญ่ เมืองใหญ่เหล่านั้นอาจไม่แบ่งพระบรมสารีริกธาตุให้เมืองเล็ก ๆ เช่น เมืองกุสินารา เป็นต้น ซึ่งก็เป็นความจริงเพราะหลังพระพุทธองค์ปรินิพพาน เจ้าผู้ครองแคว้นต่าง ๆ ก็ได้ยกกองทัพหลวงของตนมาล้อมเมืองกุสินาราเพื่อจะแย่งชิงพระบรมสารีริกธาตุ แต่ด้วยความที่กุสินาราเป็นเมืองเล็ก จึงต้องยอมระงับศึกโดยแบ่งพระบรมสารีริกธาตุให้ทุกเมืองโดยไม่ต้องเกิดสงคราม [แก้]กุสินาราหลังพุทธปรินิพพาน หลังพระพุทธองค์ปรินิพพานแล้ว เมืองกุสินารากลายเป็นเมืองสำคัญศูนย์กลางแห่งการสักการบูชาของพุทธศาสนิกชน เหล่ามัลลกษัตริย์ได้สร้างเจดีย์และวิหารเป็นจำนวนมากไว้รอบ ๆสถูปใหญ่คือ มหาปรินิพานสถูป อันเป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า มหาสถูปนี้ได้กลายเป็นศูนย์กลางของปูชนียสถานอื่น ๆ ที่สร้างขึ้นมาภายหลังในบริเวณนั้น ต่อมาเมื่อแคว้นมัลละได้ตกอยู่ในความอารักขาของแคว้นมคธ ซึ่งในขณะนั้นมีเมืองปาตลีบุตรเป็นเมืองหลวง สาลวโนทยานยังคงเป็นสถานที่สำคัญอยู่ แต่อยู่ในสภาพที่ไม่รุ่งเรืองนัก ดังในทิพยาวทาน ได้พรรณาไว้ว่า "พระเจ้าอโศกมหาราชเสด็จมาจาริกแสวงบุญยังกุสินารา ประมาณ พ.ศ. 310 ทรงบริจาคพระราชทรัพย์ 100,000 กหาปณะ เพื่อเป็นค่าสร้างสถูป เจดีย์ และเสาศิลา พระเจ้าอโศกเมื่อทรงทราบชัดว่า ณ จุดนี้เป็นสถานที่พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน พระองค์ถึงกับทรงสลดพระทัย โศกเศร้าถึงเป็นลมสิ้นสติสมปฤดี" จุนทสถูป บนที่ตั้งของบ้านนายจุนทะ อันเป็นสถานที่พระพุทธเจ้าเสวยพระกระยาหารมื้อสุดท้ายก่อนปรินิพพาน หลวงจีนฟาเหียน (Fa-hsien) ที่ได้เข้ามาสืบศาสนาในพุทธภูมิในช่วงปี พ.ศ. 942 - 947 ในช่วงรัชสมัยของพระเจ้าจันทรคุปต์ที่ 2 (พระเจ้าศรีวิกรมาฑิตย์) แห่งราชวงศ์คุปตะ ซึ่งท่านได้พรรณนาไว้ว่า "เมื่อมาถึงกุสินารา มีแต่เมืองที่ทรุดโทรม หมู่บ้านเป็นหย่อม ๆ ห่างกันไป โบสถ์ วิหาร และปูชนียวัตถุ ปรักหักพังโดยมาก สังฆารามที่ควรเป็นที่อยู่อาศัยก็ไม่มีพระสงฆ์อาศัยอยู่ ได้เห็นศิลาจารึกพระเจ้าอโศก 2 หลัก ปักปรากฏอยู่ 2 แห่งในอุทยานสาลวัน จารึกนั้นบอกว่า ณ ที่นี้ เป็นสถานที่ปรินิพพานของพระพุทธองค์" ในบันทึกของพระถังซำจั๋ง (Hiuen-Tsang) ​ซึ่งได้จาริกมาเมืองกุสินาราราวปี พ.ศ. 1300 ได้พรรณนาไว้ในจดหมายเหตุของท่านว่า เมืองกุสินาราในสมัยนั้นยังคงมีซากเมือง ป้อมปราการ หอสูง และสังฆารามอยู่บ้าง แต่อยู่ในสภาพปรักหักพัง ภายในเขตกำแพงเมืองยังพอมีคนอาศัยอยู่บ้างแต่น้อยมาก ท่านยังได้ทันพบบ่อน้ำและซากสถูปบ้านของนายจุนทะ และได้เห็นความร่มรื่นของสาลวโนทยาน สถานที่ปรินิพพาน และมกุฏพันธนเจดีย์ สถานที่ถวายพระเพลิงฯ [2] จนในพุทธศตวรรษที่ 14-15 ราชวงศ์สกลจุรีได้เข้ามาสร้างวัดขึ้นในบริเวณสาลวโนทยานจำนวนมาก จนพระพุทธศาสนาได้หมดจากอินเดียไปใน พ.ศ. 1743 ทำให้สถานะของพระพุทธศาสนาในกุสินาราถูกปล่อยทิ้งร้างและกลายเป็นป่ารกทึบ จนใน พ.ศ. 2433 ภิกษุมหาวีระ สวามี และท่านเทวจันทรมณี ชาวศรีลังกา เดินทางมายังกุสินาราและเริ่มอุทิศตัวในการฟื้นฟูพุทธสถานแห่งนี้ร่วมกับเนซารี ชาวพุทธพม่า จนได้สร้างวัดขึ้นใหม่ชื่อว่า "มหาปรินิวานะ ธรรมะศาลา" สถานที่ประดิษฐานพระพุทธสรีระพระพุทธเจ้าเป็นเวลา 7 วันก่อนอัญเชิญไปถวายพระเพลิงพระบรมศพ ในปี พ.ศ. 2397 นายวิลสัน นักโบราณคดีอังกฤษ ได้ทำการพิสูจน์ขั้นต้นว่าหมู่บ้านกาเซียคือกุสินารา จนในปี พ.ศ. 2404-2420 เซอร์ อเล็กซานเดอร์ คันนิ่งแฮม ได้เริ่มทำการขุดค้นเนินดินในสาลวโนทยาน จนในปี พ.ศ. 2418-2420 นายคาร์ลลีเล่ หนึ่งในผู้ช่วยในทีมขุดค้นของท่านเซอร์ อเล็กซานเดอร์ ได้ทำการขุดค้นต่อจนได้พบพระพุทธรูปปางปรินิพพาน วิหารปรินิพพาน และสถูปจำนวนมากที่ผู้ศรัทธาได้สร้างไว้ในอดีตเมื่อครั้งพระพุทธศาสนายังรุ่งเรือง โดยนายคาร์ลลีเล่ เป็นท่านแรกที่เอาใจใส่ในงานบูรณะและรักษาคุ้มครองพระพุทธรูปปางไสยาสน์ที่ขุดพบ จากนั้น นับแต่ พ.ศ. 2443 เป็นต้นมา กุสินาราได้เริ่มมีผู้อุปถัมภ์ช่วยกันบูรณปฏิสังขรณ์ เข้ามาสร้างวัดและสิ่งอำนวยความสะดวกแก่ผู้จาริกแสวงบุญที่เริ่มเข้ามาสักการะมหาสังเวชนียสถานแห่งนี้จนในปี พ.ศ. 2498 รัฐบาลอินเดียได้ตั้งคณะกรรมการเพื่อพัฒนาปูชนียสถานแห่งนี้เพื่อเตรียมเฉลิมฉลอง 25 พุทธชยันตี โดยได้รื้อโครงสร้างวิหารปรินิพพานเก่าที่พึ่งได้รับการบูรณะสร้างใหม่ไม่นานออกเพื่อสร้างมหาปรินิพพานวิหารใหม่ เพื่อให้เหมาะสมกับโครงสร้างและสามารถรองรับพุทธศาสนิกชนได้ ในปี พ.ศ. 2499 จนในปี พ.ศ. 2507 วิหารได้พังลงมา ทางการอินเดียจึงบูรณะสร้างขึ้นใหม่ในปี พ.ศ. 2518 และทางการอินเดียและพุทธศาสนิกชนก็ได้มีส่วนร่วมในการบูรณะกุสินาราจนมีสภาพสวยงามอย่างที่เห็นในปัจจุบัน[3] [แก้]จุดแสวงบุญและสภาพของกุสินาราในปัจจุบัน ปัจจุบันกุสินาราได้รับการบูรณะ และมีปูชนียวัตถุสำคัญ ๆ ที่ชาวพุทธนิยมไปสักการะคือ "สถูปปรินิพพาน" เป็นสถูปแบบทรงโอคว่ำที่เป็นทรงพระราชนิยมในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช สร้างโดยพระเจ้าอโศกมหาราช บนสถูปมียอมมน มีฉัตรสามชั้น "มหาปรินิพพานวิหาร" ตั้งอยู่ด้านหน้าในฐานเดียวกันกับสถูปปรินิพพาน ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางเสด็จดับขันธปรินิพพาน (คือพระพุทธรูปนอนบรรทมตะแคงเบื้องขวา) ศิลปะมถุรา มีอายุกว่า 1,500 ปี ในจารึกระบุผู้สร้างคือ หริพละสวามี โดยนายช่างชื่อ ทินะ ชาวเมืองมถุรา ในปัจจุบันพระพุทธรูปองค์นี้ถือได้ว่าเป็นจุดหมายสำคัญที่ชาวพุทธจะมาสักการะ เพราะเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะอันพิเศษคือเหมือนคนนอนหลับธรรมดา แสดงให้เห็นว่าพระพุทธองค์ได้เสด็จดับขันธปรินิพพานจากไปอย่างผู้หมดกังวลในโลกทั้งปวง "มกุฏพันธนเจดีย์" อยู่ห่างจากปรินิพพานสถูปไปทางทิศตะวันออก 1 กิโลเมตร ชาวท้องถิ่นเรียก รัมภาร์สถูป เป็นสถานที่ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ มีสภาพเป็นเนินดินก่อด้วยอิฐขนาดใหญ่ ปัจจุบันรัฐบาลอินเดียได้เข้ามาบูรณะซ่อมแซมไว้อย่างดี ปัจจุบันชาวพุทธทั่วโลกได้มาก่อสร้างวัดไว้มากมาย โดยมีวัดของไทยด้วย ชื่อ วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ ปัจจุบันชาวไทยที่มาสักการะ ณ กุสินารา นิยมมาพักที่นี่[4] ในส่วนพุทธสถานโบราณลุมพินีนั้น ปัจจุบันได้รับการบูรณะซ่อมแซมเป็นอย่างดีจากรัฐบาลอินเดีย โดยรอบมีสภาพเป็นสวนป่าสาละร่มรื่นเหมือนครั้งพุทธกาล ชวนให้เจริญศรัทธาแก่ผู้มาสักการะตลอดมาจนปัจจุบัน มกุฏพันธนเจดีย์ สถานที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้า พระมหาธาตุเฉลิมราชย์ศรัทธา ภายใน วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ เมืองกุสินารา พระพุทธรูปปางมหาปรินิพพาน ในพระวิหารแห่งมหาปรินิพพานสถูป สถานที่ประดิษฐานพระพุทธบรมศพพระพุทธเจ้าเป็นเวลา ๗ วันก่อนอัญเชิญไปถวายพระเพลิงพระบรมศพ [แก้]ความสำคัญ วันอัฏฐมีคือวันแรม 8 ค่ำ เดือน 6 เป็นวันที่มีเหตุการณ์สำคัญทางพระพุทธศาสนา ถือเป็นวันที่ตรงกับวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ เป็นวันที่ชาวพุทธต้องมีความเสียใจและสูญเสียพระบรมสรีระแห่งองค์พระบรมศาสดา ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะอย่างสูง จึงเป็นวันควรแสดงธรรมสังเวชและระลึกถึงพระพุทธคุณให้สำเร็จเป็นพุทธานุสสติภาวนามัยกุศล [แก้]ประเพณีวันอัฏฐมีบูชาในประเทศไทย [แก้]ประเพณีการถวายพระเพลิงพระบรมศพจำลอง ในประเทศไทย พบประเพณีการถวายพระเพลิงพระบรมศพจำลองที่ วัดบรมธาตุทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยประเพณีนี้มีมาแต่เมื่อใดไม่ปรากฏ ในปัจจุบันประเพณีนี้ได้รับการสนับสนุนจากทางหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน โดยจัดเป็นงาน "วันอัฏฐมีบูชารำลีก เมืองทุ่งยั้ง" ณ วัดบรมธาตุทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์เป็นประจำทุกปี โดยกำหนดจัดงานในวันวิสาขบูชา คือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ถึงวันแรม 8 ค่ำ เดือน 6 รวม 9 วัน กิจกรรมภายในงานมีการแสดง แสง สี เสียง ตั้งแต่พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน จนถึงพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระพุทธเจ้า(จำลอง) มีประชาชนชาวจังหวัดอุตรดิตถ์และจังหวัดใกล้เคียงเข้าชมเป็นจำนวนมาก

การเย็บกระเป๋า

การเย็บกระเป๋า การเย็บกระเป๋าใบสวย สวัสดีค่ะ สืบเนื่องมาจาก การที่ป้าแอ๊ดได้นำ "แพทเทิร์นกระเป๋าใบสวยมาแล้วค่ะ" มาลงไว้ แล้วยังไม่ได้มาสอนการเย็บกระเป๋าใบสวยต่อเลย มีแต่การเลือกผ้า และวางแพทเทิร์นเท่านั้น วันนี้เรามาดูการเย็บและทำลวดลายต่างๆ บนกระเป๋ากันนะคะ
นี่คือแพทเทิร์นที่ให้ไว้ และวันนี้ป้าแอ๊ดได้เย็บกระเป๋าใบใหม่เป็นที่เรียบร้อยแล้วนะคะ ด้านหน้าของกระเป๋า ใช้ผ้าสีครีม จุดๆ เป็นผ้าตรงกลาง ด้านข้างต่อผ้าไว้ตามที่แพทเทิร์นกำหนด ด้านบนซีกซ้าย (ในแพทเทิร์น ซีกนี้จะอยู่ด้านขวา คือผ้าชิ้นที่ต่อ 4 ชิ้นจะอยู่ด้านบน) ด้านบนซีกขวา (สลับกันกับที่แพทเทิร์นแสดงไว้) เมื่อต่อชิ้นบนเสร็จแล้ว นำมาต่อกับผ้าที่เป็นตัวกระเป๋าด้านล่าง จากนั้นจึงเดินเส้นควิล์ท กระเป๋าอีกด้านหนึ่ง ต่อผ้าแล้วเดินเส้นควิล์ทเช่นเดียวกัน ป้าแอ๊ดใช้จักรนะคะ มิมีความสามารถในการใช้มือค่ะ ** ต้องต่อผ้าทั้งหมดก่อน จากนั้นวางทับบนใยโพลีเอสเตอร์ และผ้าซับใน แล้วจึงเนาให้ติดกันทั้ง 3 ชั้น ** (ซึ่งการทำเช่นนี้เป็นพื้นฐานของการทำกระเป๋าทุกใบ ทุกคนทราบแล้วใช่ไหมคะ)

การทำดอกไม้

ขั้นตอนการทำดอกไม้จากกระดาษสา การทำดอกไม้จากกระดาษสาในชุดวิชานี้ได้เลือกทำดอกไม้ที่เห็นว่าจะนำไปใช้ในการประดับและตกแต่งผลิตภัณฑ์กระดาษสา หรือจะนำไปใช้ตกแต่งของใช้บางอย่างให้สวยงามตามความเหมาะสมก็ได้ ทำพวงดอกไม้แขวนสำหรับประดับฝาผนัง และนำไปปักแจกัน เป็นต้น ดอกไม้จากกระดาษสาที่นิยมกันหลายชนิด เช่น ดอกมะลิซ้อน ดอกกุหลาบ และดอกกล้วยไม้แคทลียา วิธีการทำดอกไม้จากกระดาษสาแต่ละชนิดมีดังนี้ การทำดอกมะลิซ้อน ดอกมะลินอกจากจะมีความสวยงามในตัวของมันเองแล้ว ยังใช้เป็นสัญลักษณ์แทนความหมายได้หลายอย่าง อาทิ การแสดงความเคารพบูชา เช่น นำไปบูชาพระ และกราบไหว้ผู้ใหญ่ เป็นตัวแทนวันแม่ นอกจากนี้ ยังเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติของประเทศอินโดนีเซีย เป็นต้น การทำดอกมะลิจากกระดาษสา มีขั้นตอนการทำดังนี้ วัสดุอุปกรณ์ มีดังนี้ 1. กระดาษสาสีขาวชนิดบาง 2. สีเหลือง น้ำเงิน เขียว 3. ลวด เบอร์ 24 4. สีย้อมสีเหลือง น้ำเงิน เขียว 5. กาวลาเท็กซ์ 6. เหล็กแหลม 2 วิธีตัดกลีบดอก ใช้กระดาษลอกลาย คัดลอกกลีบดอกและใบจากตัวอย่างลงบนกระดาษแข็งสีเทา-ขาว แล้วตัดเป็นต้นแบบละอัน แล้วจึงนำไปทาบกับกระดาษสาที่เตรียมไว้สำหรับทำกลีบดอกและใบ ตามรายการดังนี้ จำนวนกลีบดอกและใบที่ใช้ ภาพขยาย กลีบดอก ก ข ค ง ดอกบานใหญ่ 2 2 3 2 ดอกบานเล็ก 2 2 3 1 ดอกแย้ม 2 2 - - ดอกแย้ม 2 3 - - ดอกตูมใหญ่ 2 3 - - ดอกตูมเล็ก 2 - - - กลีบเลี้ยง 1 - - - และใบ ต้องการ 4 ขนาด ๆ ละ 2 ใบ 3. วิธีผสมสี ผสมสี โดยแยกออกเป็น 2 ถ้วย ๆ หนึ่งเป็นสีโศกอ่อน อีกถ้วยหนึ่งเป็นสีโศกอ่อนมากกว่าถ้วยแรกเกือบจะเป็นสีขาว โดยเติมน้ำลงไป สีน้ำเงิน (น้อย) + สีเหลือง (มาก) = สีโศก สีเขียว + สีเหลือง = สีเขียว 4. วิธีระบายสี ก่อนที่จะลงมือย้อมสีกลีบ ให้จับคู่กลีบดอก ก ข ค ง ให้เป็นกลุ่มตามลำดับ โดยให้วางซ้อนสับหว่างกัน ทั้งนี้เพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการแยกกลีบดอกนำไปผึ่งลมให้แห้ง ต่อจากนั้นให้รวบรวมกลีบดอกกลุ่มละประมาณ 6-7 คู่ จุ่มลงไปในถ้วยสีโศกอ่อนมาก ๆ แช่ทิ้งไว้ให้อิ่มตัวสักครู่ แล้วจึงใช้นิ้วบีบให้น้ำออกบ้าง วางเรียงกันบนกระจกจับกันเป็นคู่ ๆ ตามที่จัดเอาไว้ไม่ต้องแยกคู่ วางห่างกันประมาณ 1 เซนติเมตร ทิ้งไว้พอหมาด แล้วนำพู่กันเบอร์ 6 จุ่มสีโศก (เข้ม) ระบายตรงกลางดอกให้เป็นวงกลม สำหรับกลีบเลี้ยงก็ให้ระบายด้วยสีโศกเช่นเดียวกัน ส่วนในให้ระบายด้วยสีเขียวที่เตรียมไว้ ต่อจากนั้นให้นำกลีบดอกที่ย้อมเสร็จแล้วไปผึ่งลมทิ้งไว้ให้แห้ง ห้ามนำไปตากแดดเพราะจะทำให้สีซีดและด่าง 5. วิธีทำใบ นำใบที่ตากแห้งแล้วมาติดลวดสีเขียวที่ใช้สำหรับดามใบ แล้วใช้ที่รีดรูปใบมีดกรีดตามเส้นลวดที่ดามไว้กรีดตามร่องใบและกรีดเป็นแฉกตามเส้นใบ เป็นการเลียนแบบธรรมชาติ การทำวิธีนี้ใช้ในกรณีที่ไม่มีพิมพ์อัดกลีบกุหลาบ อัดใบ ซึ่งสามารถทำได้ผลใกล้เคียงกัน หรือจะใช้วิธีบิดเป็นเกลียวเช่นเดียวกับการบิดกลีบดอกดังจะได้กล่าวต่อไปก็ได้ 6. วิธีบิดกลีบดอก นำกลีบดอกที่ผึ่งลมแห้งแล้วมาซ้อนกัน 3 กลีบ เจาะรูให้ได้กึ่งกลางกลีบด้วยเหล็กแหลมแล้วจึงพับบิดกลีบดอกให้เป็นเกลียว โดยเริ่มต้นที่ปลายกลีบให้ใช้ปลายเล็บหัวแม่มือจิกลงบนปลายกลีบ แล้วจับกลีบด้านล่างบิดเป็นเกลียวให้แน่นโดยเลื่อนนิ้วมือลงไปทีละน้อย ทำเช่นนี้จนครบทุกกลีบและทุกขนาด จากนั้นให้คลี่กลีบดอกออกเบา ๆ จัดกลีบให้เป็นอุ้งตรงกลางกลีบและปลายบานออกเล็กน้อย แล้วนำไปเข้าดอกใบต่อไป 7. วิธีเข้ากลีบดอก ตัดลวดที่เตรียมไว้สำหรับทากาวก้านดอกยาว 3-4 เซนติเมตร งอปลายแล้วจุ่มลงไปในกาวพอติด แล้วนำสำลีมาปั้นเป็นก้อนกลมรอบเส้นลวดใช้นิ้วมือแตะกาวเล็กน้อยจับสำลีหมุนเป็นก้อนกลมให้เรียบและแน่น แล้วทากาวโดยรอบนำไปเข้าดอกตูม ดังภาพ วิธีเข้าดอก ใช้สำลีปั้นให้กลมกับลวด แล้วเจาะรูกลางกลีบดอกทุกกลีบ แล้วเข้าตามลำดับขนาดกลีบ ดังรูปดอกตูม สำหรับการเข้าดอกแย้มและดอกบานมีวิธีการเข้าเช่นเดียวกัน คือ ทากาวบนกลีบตูมโดยรอบแล้วนำกลีบที่เตรียมไว้มาติดเข้าให้สับหว่างกันทีละชั้นจนครบทุกกลีบทุกขนาด แล้วเสริมโคนดอกด้วยสำลีแล้วปิดด้วยกลีบเลี้ยง 8. วิธีเข้าช่อ นำดอกบาน ดอกแย้งและดอกตูมที่ทำเสร็จแล้วมาเข้าช่อกับใบ ให้ทำเหมือนดอกไม้ธรรมชาติ ตกแต่งให้สวยงามเหมาะสำหรับปักแจกันหรือจะทำเป็นช่อใช้เป็นดอกไม้ติดเสื้อก็ได้

การร้อยลูกปัด

ร้อยลูกปัด คริสตัล หิน แบบร้อยเป็นลวดลาย ตอนที่1 25 JULY 2007 125 COMMENTS ต่อเรื่องลูกปัดบ้างนะคะ เริ่มการร้อยแบบลวดลายบ้าง ออกตัวก่อนเลยว่าที่ยุเขียน ยุเอามาจากประสบการณ์ที่เคยร้อย อาจมีไม่ครบ ถ้าเพื่อนๆมีอะไรเพิ่มเติม ก็ช่วยเสนอมาได้เลยนะคะ เพื่อนคนอื่นๆรวมทั้งยุจะได้ความรู้เพิ่มด้วยจ๊ะ อุปกรณ์หลัก เหมือนเดิม คือ คีม กรรไกร แล้วก็ตัวเก็บงาน เอ็น คริสตัล หรือลูกปัดแบบต่างๆ วันนี้เรื่องการออกแบบลวดลายต่างๆ ก่อนอื่นก็เริ่มจากการเขียนลาย อ่านลาย 1.ต้องเข้าใจพื้นฐานก่อนว่าลายต่างๆเกิดจากการการใช้เอ็น เชือก สลิง ลวด หรืออื่นๆ เพื่อเป็นตัวร้อยลูกปัดทำเป็นลวดลาย กรณีการใช้เอ็น สลิง เชือก ลวด มีทั้งแบบ สายเดียว สองสาย สามสาย สี่สายหรือมากกกว่า แล้วแต่ลายที่เราจะทำ กรณีที่เราใช้เอ็น สลิง เชือก ลวด มากกว่า1สาย จะมีลักษณะการไขว้เอ็น 2 แบบคือ การไขว้แบบไปทางเดียวกัน การไขว้แบบสวนทางกัน วันนี้ลายที่เสนอจะใช้การไขว้แบบสวนทาง ซึ่งส่วนมากก็จะใช้การไขว้แบบนี้ (ส่วนแบบทางเดียวกันเอาไว้คราวหน้าเสนอต่อค่ะ) 2.ต่อมาที่ต้องรู้คือเราจะนับจากการไขว้หนึ่งไปถึงการไขว้ครั้งต่อไป เป็น 1วง (loop)ตามภาพ การทำลวดลายเดียวกันทั้งเส้น เราจะทำซ้ำ แต่ละวงเหมือนเดิมไปเรื่อยๆจนได้ความยาวตามต้องการ แต่บางครั้งเราต้องการลายที่หลากหลายเราก็อาจใช้หลายวง เพื่อทำเป็น 1ลาย เช่นตามภาพยุใช้ 3 วง(loop) เพื่อทำเป็น1 ลาย แต่หลักๆต้องดูให้ออกก่อนว่าวงเริ่มจากตรงใหน ซึ่งมักใช้สัญลักษณ์ รูปดาวค่ะ 3.เมื่อมองวงออกแล้วก็ดูต่อว่าเอ็นแต่ละสายต้องใส่ ลูกปัด อะไร สีอะไร จำนวนเท่าไหร่เพื่อประกอบเป็น1 วง(loop) เช่นตามภาพนี้ แบบง่ายสุดเลยใช้ คริสตัล สีเดียวแล้วก็ลายเดียวทั้งเส้น ยุเริ่ม ร้อย ลูกปัด คริสตัล ก่อน(ดูจากดาวที่เป็นสัญลักษณ์เริ่มต้น) กรณีนี้ยุเก็บงานด้านนึงไปเรียบร้อยแล้วค่ะ เราก็ร้อยตามแบบเลยค่ะ ลูกปัด คริสตัล เม็ดแรก ต่อด้วย เอ็นด้านบนใส่ คริสตัล 1 เม็ด เอ็นด้านล่างใส่ คริสตัล 1 เม็ด แล้ว คริสตัล เม็ดที่ 4 เป็นเม็ดที่มีการไขว้กันก็ทำตามแบบเลยค่ะ เราก็จะได้ 1 วง(loop) ดูจากแบบต่อเราจะเห็นว่าสร้อยเส้นนี้เราทำแบบลายเดียวกันทั้งเส้น เราก็ทำแบบเดิม(เหมือนวงแรกที่เราทำไปเรื่อยๆ) ทำไปจนได้ความยาวตามต้องการก็เสร็จแล้วจ๊ะ กรณีนี้ลายที่เสนอยังไม่ยากเลยดูง่ายๆ แต่ถ้าเป็นงานสามมิติ เป็นงานที่ซับซ้อน การอ่านลายจะสำคัญมากขึ้น โดยปกติยุจะมองจุดเริ่มก่อนแล้วก็ค่อยๆทำไปทีละวง (พยายามไม่มองทั้งหมดเพราะว่ามันจะงงมาก แล้วก็เกิดอาการท้อแท้ไม่อยากทำต่อแล้วววว แบบว่ายังไม่เก่งอ่ะ มองทีเดียวเลยไม่เป็น555) ต่อมาก็ลองเล่นสี คริสตัล ดูก็ได้ลายต่างๆมาอีก ทั้งที่ใช้แบบเดียวกันเปลี่ยนแค่สีของ คริสตัล เท่านั้น นี่คะสองเส้นนี้ใช้การเปลี่ยนสีคริสตัล ก็จะเหมือนได้ลายใหม่ ซึ่งจริงๆก็แบบเดิมค่ะ คราวนี้เราก็มาลองเล่นขนาด คริสตัล บ้างซึ่งการใช้ขนาด คริสตัล เปลี่ยนไปก็ได้ลายใหม่ๆเพิ่มมาอีก เส้นนี้ใช้ คริสตัล ขนาด 4 มิล กับ 3 มิลมาเล่นลายกลายเป็นแบบโค้ง สวยไปอีกแบบ ยุจะใช้ คริสตัลสีเหลือง 4 มิล คริสตัลสีส้ม 3มิล เพื่อให้เห็นความต่างของขนาดชัดขึ้นนะคะ ซึ่งจริงๆลายนี้ยุว่าใช้สีเดียวกันจะสวยกว่า ดูลายก่อน จากลายเริ่มจาก คริสตัลเหลือง 4มิลก่อน ต่อด้วยด้านบนคริสตัลเหลือง 4 มิล ด้านล่างคริสตัลส้ม 3 มิล แล้วเอ็นไขว้กันที่คริสตัลเหลือง 4 มิล ได้1วง(loop) ดูแบบต่อจะเห็นว่าเราต้องทำแบบวงนี้ทั้งหมด 4 วง(loop) จากนั้นด้านบนใช้ คริสตัล ส้ม 3 มิล ด้านล่างใช้ คริสตัล เหลือง 4 มิล แล้วเอ็นไขว้กันที่ คริสตัล เหลือง 4 มิล ได้1วง ทำแบบนี้ทั้งหมด 4 วง(loop) ทำไปเรื่อยๆจนได้ความยาวตามต้องการ 4.เมื่อได้วงแล้วก็ทำต่อไปเรื่อยตามทิศทางของเอ็น บางครั้งเมื่อต้องการเปลี่ยนทิศทางของเอ็น เราก็ใช้ การเปลี่ยนจุดไขว้ เพื่อทำลายเพิ่มให้ได้ขนาดกว้างขึ้น หรือทำลายอื่นๆต่างไปจากเดิม ตามภาพจุดที่ลูกศรชี้จะเป็นจุดเปลี่ยนการไขว้ของเอ็น คือปกติเราจะไขว้แล้วทิศทางของเอ็นจะไปด้านขวามือ แต่เราเปลียนจุดไขว้ทำให้เอ็นเปลี่ยนทิศทางมาด้านล่างแทน ลองทำตามแบบเลยนะคะ ร้อยจนได้ความยาวตามต้องการจนถึงจุดเปลี่ยนเอ็นแล้ว ยุจะใช้ คริสตัล สีส้มเป็นเม็ดที่เราจะใช้เป็นจุดไขว้เพื่อเปลี่ยนเอ็นนะคะ จากจุดนี้เราจะเปลี่ยนทิศทางของเอ็นด้วยเพื่อต่อจากด้านขวาไปซ้าย ก็ทำตามแบบเลยค่ะยุใช้สีส้มแทนเม็ดที่เราเปลี่ยนจุดไขว้เหมือนเดิมค่ะ ทำจนได้ความยาวตามต้องการก็เรียบร้อยค่ะ จะได้สร้อยที่กว้างมากขึ้น *** ก่อนเราจะเริ่มงานควร ต้องดูก่อนว่าลายที่เราจะทำต้องไขว้เอ็นกี่ครั้งเพราะว่าจะได้เลือกเอ็นให้ถูกค่ะ เช่นถ้าไขว้กันแค่ครั้งเดียว คือมีเอ็นสองเส้นในคริสตัลที่เราจะไขว้เอ็น แบบนี้เราเลือกเอ็นเบอร์ 0.35 หรือ 0.30 ก็ได้ค่ะ การเลือกขนาดของเอ็นก็สำคัญมากเพราะถ้าเราเลือกเอ็นขนาดเล็กเกินไปจะทำให้สร้อยที่เราทำไม่แข็งแรงพอขาดง่าย ถ้าใช้เอ็นขนาดใหญ่ไปก็อาจร้อยลายที่เราต้องการไม่ได้ เพราะรูลูกปัดเราขนาดเล็กเกินไป หรือร้อยแล้วสร้อยบิดๆไม่สวย ควรเลือกเอ็นให้พอดีกับการใช้งานด้วยค่ะ ถ้าให้ดีควรหาดูก่อนว่าลายที่เราจะทำไขว้เอ็นกันมากที่สุดกี่ครั้งแล้วลองใช้เอ็นไขว้ดูก่อนว่าลอดผ่านได้หรือเปล่า ถ้าไม่แน่ใจก็เลือกใช้เอ็นเบอร์เล็กเผื่อไว้ก่อน แต่ก็มีข้อเสียที่บอกคือขาดง่ายกว่าเอ็นเบอร์ใหญ่ๆดังนั้นถ้าจำเป็นต้องใช้เอ็นเบอร์เล็กและต้องรับนำหนักเยอะด้วยเช่นเอาไปห้อยจี้ หรือพระที่หนักมากๆ ก็ควรใช้เอ็นแบบดีหน่อยค่ะ จะได้ใช้ได้ทนๆ ไม่งั้นขาดไปพระหล่นหายเสียดายแย่เลย การเลือกใช้สลิง เชือก ลวด ก็ใช้แบบนี้เหมือนกันค่ะ*** มาลองทำตามแบบกันดูค่ะ ตอนแรกเสนอแค่นี้ก่อน ลองเขียนลาย อ่านลายกันดูให้คล่องๆนะคะ แล้วคราวหน้ามาต่อกันค่ะ ไม่จำเป็นต้องใช้คริสตัลตามแบบนะคะใช้ลูกปัดอะไรก็ได้จ๊ะ หรือใช้เป็นพวกเม็ดอครีลิค พลาสติค แทนก็ได้ เดี๋ยวนี้มีให้เลือกหลายสี หลายขนาด สวยๆทั้งนั้น ราคาก็ไม่แพงที่สำเพ็งมีขายจ๊ะ ขอให้สนุกกับการสร้างสรรลายใหม่ๆด้วยตัวเองนะคะ แล้วเอามาให้เพื่อนๆ+ยุดูบ้างนะคะ ยุ ร้อยลูกปัด ,คริสตัล ,หินสี ,หินมงคล ,เครื่องประดับทำเอง ,diy Technorati Tags: ร้อยลูกปัด, คริสตัล, หินสี, หินมงคล, เครื่องประดับทำเอง, diy

การนั่งสมาธิ

การทำสมาธิแบบพระพุทธเจ้า การทำสมาธิของคนส่วนใหญ่ประสบกับความล้มเหลว หรือก่อให้เกิดความรู้สึกเป็นลบกับการทำสมาธิ เพราะขาดแนวทางที่ถูกต้อง หรือมองแนวทางที่ถูกต้องแบบผิดๆ ซึ่งก็หมายความว่ายิ่งทำสมาธิเท่าไร ใจก็ยิ่งแกว่ง หรือห่างไกลจากสมาธิที่ถูกที่ชอบมากขึ้นเท่านั้น ความเข้าใจขั้นพื้นฐานจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งยวด ถ้าขาดความเข้าใจแล้วกระโดดไปพยายามทำสมาธิเลย เกือบร้อยทั้งร้อยจะพยายามเพ่งจับสิ่งใดสิ่งหนึ่งแน่นเกินไป หรือไม่ก็จ้องบังคับความคิดของตัวเองให้ดับไปดื้อๆ การทำสมาธินั้น ทุกคนหวังจะได้ผลเป็นความสุขสงบ พูดง่ายๆ สมาธิคือการเปลี่ยนอึดอัดเป็นสบาย แต่หลายคนทำสมาธิแล้วเปลี่ยนสบายเป็นอึดอัด แล้วจะไปชอบใจหรือเห็นค่าของสมาธิได้อย่างไรกัน? เพื่อจะมองเห็นทั้งเป้าหมายของสมาธิแบบที่พระพุทธเจ้าสอน ตลอดจนทราบขั้นตอนของความสำเร็จอย่างชัดเจน ก็ขอให้ทำความเข้าใจผ่านข้อสงสัยในหมู่นักเจริญสติ ที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุด และก่อให้เกิดความละล้าละลังที่สุด ดังต่อไปนี้ ๑) การทำสมาธิกับการเจริญสติต่างกันอย่างไร? สมาธิคือภาวะของจิตที่ "ตั้งมั่นไม่หวั่นไหว" คือนิ่งอยู่กับตัวเองโดยไม่ต้องพึ่งสิ่งอื่น หรือเมื่อมีสิ่งอื่นมารบกวนก็ไม่แกว่งไกวตามง่ายๆ สติคือภาวะของจิตที่ "รู้เรื่องรู้ราว" คือไม่ใช่เอากันแค่นิ่งอยู่ในฝัก แต่ตัดเชือกกันว่าเอาตัวรอดได้หรือเปล่าด้วย เปรียบเทียบได้กับคนที่เผชิญกับอุบัติเหตุกะทันหัน ต้องนิ่งด้วย แล้วก็มีความเฉียบคมฉับไวด้วย จึงจะหลีกหลบสิ่งที่พุ่งเข้ามาหาอย่างรวดเร็ว ด้วยความเป็นอัตโนมัติทันเวลา ทางพุทธเปรียบสิ่งกระทบหูตาและกายใจทั้งหลาย ว่าเหมือนเป็นภัยหรือยาพิษ เมื่อไม่รู้ว่าเป็นภัยหรือยาพิษเราก็ไม่หลีกหลบ ผลลัพธ์คือจิตเกิดความเสียหายอยู่ตลอดทั้งวันทั้งคืน สัมมาสติคือฝึกรู้ในสิ่งที่ควรรู้ ไม่ว่าจะนับจากก้าวแรกที่เห็นลมหายใจ ไปจนถึงก้าวสุดท้ายที่เห็นธรรมทั้งปวง ล้วนแต่ควรรู้ว่าเหล่านั้นไม่เที่ยง บังคับให้เป็นอย่างใจไม่ได้ ไม่อาจคงรูปให้เป็นตัวเป็นตนอย่างใดอย่างหนึ่งถาวร เมื่อรู้ความจริงก็จะได้ไม่มีอาการยึด เช่น เมื่อรู้แล้วว่าจิตไม่เที่ยง บังคับจิตให้เป็นไปตามต้องการไม่ได้ เราก็จะได้ไม่คาดหวัง ยึดมั่นสำคัญผิดว่าจะให้มันทรงนิ่งอยู่ตลอด หรือเมื่อรู้แล้วว่ากายไม่เที่ยง เหนี่ยวรั้งให้กายคงอยู่ในสภาพใดสภาพหนึ่งไม่ได้ เราก็จะหมดความทุรนทุรายเมื่อมันเหี่ยวย่นลง หรือแม้กระทั่งร่างของบุคคลอันเป็นที่รักแตกดับ เราก็จะไม่ร่ำร้องคร่ำครวญให้ร่างนั้นกลับฟื้นคืนชีพ การเจริญสติมุ่งหมายเอาการฝึกรู้กายใจตามจริง ผลลัพธ์สุดท้ายคือสมาธิที่เรียกว่า "อริยสมาธิ" คือจิตตั้งมั่นรู้อยู่เองเป็นอัตโนมัติว่า กายใจไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวเราจริงๆ ดังนั้น ถ้าจะกล่าวโดยภาพรวม ก็ต้องบอกว่าการทำสมาธิแบบพระพุทธเจ้า คือ "การเจริญสติ" แบบที่เราได้ยินกันมากขึ้นในยุคนี้นั่นเอง เมื่อทำสมาธิจนเป็นอริยสมาธิเต็มขั้น ก็คือการเกิดปรากฏการณ์ล้างผลาญกิเลสเป็นขั้นๆ เรียกว่ามรรคผลขั้นโสดา สกทาคา อนาคา และอรหัตต์ตามลำดับ ๒) สมถะกับวิปัสสนาต่างกันอย่างไร? สมถะหมายถึงการอาศัยวิธีอันเป็นธรรมใดๆ ทำให้ใจสงบจากกิเลส เพื่อให้พร้อมรู้เป็นวิปัสสนา พูดสั้นๆคือ "ทำจิตให้สงบลงพร้อมตื่นรู้ตามจริง" ปัจจุบันคนมักพูดถึงการทำสมถะ ว่าคือการนั่งสมาธิและเดินจงกรม หรือหนักกว่านั้นคือสมถะเป็นเครื่องถ่วง ไม่ให้สนใจวิปัสสนา ติดสมถะแล้วคือได้ไปเป็นพรหม หมดสิทธิ์เข้าถึงมรรคผลนิพพาน สมถะเลยถูกมองเป็นผู้ร้าย และเห็นวิปัสสนาเป็นพระเอก ข้อเท็จจริงก็คือไม่มีใครเป็นผู้ร้าย ไม่มีใครเป็นพระเอก มีแต่ขาสองข้างที่พาเราเดินไปถึงฝั่ง ขาดข้างใดข้างหนึ่งก็เรียกว่าขาเป๋ เดินลำบาก ไปถึงปลายทางได้ยาก หรือยิ่งถ้าขาข้างที่เหลือป้อแป้ปวกเปียก ก็อาจออกจากจุดเริ่มต้นไม่ได้เลยด้วยซ้ำ คำว่า "วิปัสสนา" นั้น รากของนิยามมาจากที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสในวิธีเจริญสติ ใจความคือให้ "ดูกายใจนี้ตามจริงเท่าที่ปรากฏอยู่เป็นปกติ" และที่เป็นปกติเลยก็คือทั่วทั้งกายใจนี้ กำลังแสดงความไม่เที่ยงให้เราเห็นอยู่ตลอดเวลา นับตั้งแต่ลมหายใจเข้าออกไปจนกระทั่งความรู้สึกนึกคิด ใครจะทำหรือไม่ทำวิปัสสนา กายใจก็แสดงความจริงอยู่อย่างนั้น ผู้ทำวิปัสสนาเพียงแต่เข้าไปดู เข้าไปรู้อย่างยอมรับเท่านั้นเอง ฟังดูเหมือนง่าย แต่ลงมือทำจริงจะยาก นั่นก็เพราะจิตกระเพื่อมด้วยพลังกระตุ้นของกิเลสอยู่เรื่อยๆ เช่น แค่ไม่อยากยอมรับว่าเราเป็นฝ่ายผิด จิตจะบิดเบี้ยว กิเลสจะกระตุ้นให้หาเหตุผลสารพัด มาพูดให้ตัวเองเป็นฝ่ายถูก คนเราสั่งสมนิสัยเช่นนี้กันโดยมาก คนส่วนใหญ่จึงมีจิตที่ยอมรับตามจริงได้ยาก หรืออย่างตอนฟุ้งซ่านหาทางแก้ตัวอยู่ ตอนฟุ้งซ่านหาทางมีความสัมพันธ์ทางเพศ ตอนฟุ้งซ่านหาทางแก้เผ็ดคนที่ทำให้เราเจ็บใจ จะไม่มีสิทธิ์เห็นความฟุ้งซ่าน และความฟุ้งซ่านย่อมบดบังทุกสิ่ง ไม่ว่าจะเป็นโลกภายนอกที่ปรากฏตรงหน้า หรือจะเป็นโลกภายในทางกายทางใจใดๆ การทำสมถะจึงมีบทบาทสำคัญ ช่วยผ่อนหนักให้เป็นเบา โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ยังกระเพื่อมไหวอยู่มาก หากอาศัยสมถะมาช่วย ก็จะเห็นอะไรชัดกระจ่างแตกต่างไป สรุปว่าสมถะคือการลดระดับความกระเพื่อมไหว หรือสมถะคือการรักษาจิตไว้ไม่ให้กระเพื่อมไหวก็ได้ ประเด็นคือเมื่อจิตลดความกระเพื่อมไหวแล้ว จึงค่อยมีความสามารถเห็นสิ่งที่ปรากฏอยู่ต่อหน้าต่อตาชัดๆ ไม่ใช่เห็นแบบโคลงเคลง ไม่ใช่เห็นแบบโยกไปไหวมา ๓) จะต้องเริ่มด้วยสมถะหรือวิปัสสนาก่อน? มักมีการอ้างถึงพระอานนท์ ที่ท่านใจกว้าง เปิดรับทั้งลูกศิษย์ที่ชอบทำสมถะก่อนวิปัสสนา หรือแบบที่อยากทำวิปัสสนาก่อนสมถะ ตลอดจนแบบที่อยากทำทั้งสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป ความจริงก็คือถ้าเราดูที่ตัวเองอย่างเข้าใจ ว่าเหมาะกับอะไร ไม่ถือเอาตายตัวเป็นสากลว่าเริ่มอันไหนก่อนถึงจะดีกว่า ปัญหาก็จะหมดไป และไม่ต้องกังขาอยู่เนืองๆ ยกตัวอย่างถ้าเป็นคนกลัดกลุ้มรุ่มร้อนในราคะ โทสะ โมหะอยู่เรื่อยๆ ก็อย่าเพิ่งฝืนทำวิปัสสนาให้ยาก ต้องหาทางลดความรุ่มร้อนลงเสียบ้าง เช่น ลดเหตุแห่งความตรึกนึกถึงเรื่องกามและเรื่องโกรธ หันมาแผ่เมตตาหรือปลงสังเวชในความเน่าเปื่อยแห่งกายเสียบ้าง พอร้อนเปลี่ยนเป็นเย็น พอทะยานอยากเปลี่ยนเป็นสงบระงับ จิตถึงค่อยพร้อมจะเห็นตามจริงแบบวิปัสสนาได้ แต่หากเป็นคนยอมรับตามจริงได้ง่ายมาแต่ไหนแต่ไร เคยมีนิสัยเห็นประโยชน์ตามที่มันเป็นประโยชน์ เห็นโทษตามที่มันเป็นโทษ สำนักผิดตามที่ทำผิด กับทั้งรักษาวาจาสัตย์ พูดคำไหนคำนั้นไม่กลับกลอก ไม่พูดเอาดีเข้าตัว ไม่โยนชั่วให้คนอื่น เช่นนี้ไม่ต้องพยายามทำสมถะมากก็ยกขึ้นวิปัสสนาได้เลย ทำวิปัสสนาไป เดี๋ยวจิตคลายความยินดีในกิเลสทั้งหลาย กลายเป็นสมถะไปในตัวได้เอง ๔) อานาปานสติคืออะไร? อานาปานสติเป็นทั้งการทำสมาธิและการเจริญสติ เป็นทั้งสมถะและวิปัสสนาในคราวเดียวกัน แต่อย่างที่กล่าวแล้วว่าต้องมี "ความเข้าใจ" เป็นทุนก้อนแรกไว้ก่อน หากปราศจากความเข้าใจแล้ว อานาปานสติอาจเป็นสมาธิเก๊ๆ เป็นการเจริญสติเทียมๆ หรืออาจเป็นสมถะถ่วงความเจริญ หรืออาจเป็นวิปัสสนายาพิษ แทนที่จะเห็นอะไรตามจริง กลับเห็นแต่อะไรที่ส่งเสริมสนับสนุนให้เข้าข้างตัวเอง พอกพูนมานะอัตตาให้ยิ่งๆขึ้นไปได้ทุกวัน ขอให้ทำความเข้าใจอย่างถูกต้อง หากกล่าวว่าอานาปานสติเป็นสมาธิ ก็หมายความว่าเป็นสมาธิ ที่อาศัยลมหายใจเป็นหลักตรึงจิตให้ตั้งมั่น หากกล่าวว่าอานาปานสติเป็นการเจริญสติ ก็ต้องหมายความว่าเป็นการเจริญสติ ที่อาศัยการยอมรับตามจริงว่าลมหายใจไม่เที่ยง ยอมรับตามจริงว่าเมื่อใดถึงเวลาเข้า เมื่อใดถึงเวลาออก เมื่อถึงเวลาควรหยุด กระทั่งเห็นชัดขึ้นมาเองว่าลมหายใจนั้น เข้าแล้วต้องออก ออกแล้วต้องหยุด หยุดแล้วก็ต้องเข้าใหม่ เดี๋ยวก็ยาว เดี๋ยวก็สั้น หาความเที่ยงไม่ได้ มีแต่ภาวะพัดไหวของธาตุลม ไม่ได้ต่างจากสายลมที่พัดกิ่งไม้ใบหญ้าแม้แต่นิดเดียว เห็นจนพอ ในที่สุดจิตก็ยอมรับตามจริงว่าลมไม่เที่ยง ไม่มีลมไหนเลยในชีวิตที่เป็นตัวเรา ไม่มีลมไหนเลยที่เป็นบุคคล ตัวตน เราเขา แม้สุขที่เกิดจากอานาปานสติ ตั้งอยู่ได้นานแค่ไหนก็ต้องเสื่อมลงเป็นธรรมดา ไม่ต่างจากลมหายใจแต่อย่างใดเลย เมื่อเข้าใจอยู่ด้วยมุมมองข้างต้น คำว่าสมถะและวิปัสสนาก็กลายเป็นเครื่องเสริมกัน ไม่ใช่ศัตรูที่ต้องมาตีกันในอานาปานสติ ลมหายใจและความสุขสดชื่นจะเป็นเครื่องล่อใหม่ ให้จิตของเราผละออกมาจากเหยื่อล่อแบบโลกๆ นั่นถือเป็นสมถะ ยกจิตให้พร้อมรู้ และความไม่เที่ยงของลมหายใจที่ปรากฏให้รู้ ก็จะก่อให้เกิดปัญญาเห็นตามจริง กระทั่ง "ทิ้ง" อุปาทาน เกิดปรากฏการณ์มรรคผลขึ้นในที่สุด ๕) ทำอานาปานสติควรลืมตาหรือหลับตา? คำตอบคือขึ้นอยู่กับว่าเรามีเวลาเท่าไร ทำที่ไหน มีเวลามากสักชั่วโมงหลับตาก็ดีจะได้ไม่วอกแวก มีเวลาน้อยตอนคอยใครจะลืมตาก็ดีจะได้ไม่หลงเพลิน ในอานาปานสติสูตร พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงเจาะจงให้ลืมตาหรือหลับตา แต่ขอให้พิจารณาตามจุดยืนจริงๆของแต่ละคน แต่ละขณะ ถ้าลืมตาจะวอกแวกตามเหยื่อล่อสายตาไหม? ถ้าหลับตาจะเคร่งเครียดเห็นนิมิตล่อใจวุ่นวายไหม? ถ้ากำลังลืมตาหรือหลับตาแล้วเกิดข้อเสียใดๆ ก็สลับกันเสีย เพื่อขับไล่ข้อเสียนั้นๆไป เท่านี้ก็จบ หากลืมตาแล้วรู้ลมหายใจได้ต่อเนื่อง ก็ควรลืมตาให้มาก หากหลับตาถึงจะรู้ลมหายใจได้นานๆ ก็ควรหลับตาให้ต่อเนื่อง อย่าไปกลัว หรือไปยึดรูปแบบว่าจะเอาอย่างไหนถึงจะถูก เพราะมันถูกตรงจิต ตรงสติ ตรงความสามารถรู้ความไม่เที่ยง ไม่ใช่ถูกตรงหลับตาหรือลืมตา สำหรับคนส่วนใหญ่จะพบว่าการหลับตา คือการปิดกั้นเครื่องรบกวนสายตา อันนี้ก็ถูก แต่สำหรับคนอีกส่วนหนึ่งที่ไม่ถูกรบกวนด้วยเครื่องล่อตาง่ายๆ และสมัครใจลืมตาทำอานาปานสติ อันนี้ก็อย่าว่ากัน ๖) ทำอานาปานสติควรนั่งขัดสมาธิหรือนั่งเก้าอี้? ถ้านั่งขัดแข้งขัดขานานๆ กล้ามเนื้อจะหดเกร็ง และยิ่งถ้าได้ความพยายามเพ่งลมหายใจมาเสริม สักพักเดียวก็อาจพบว่าเหน็บกินเหมือนร่ำๆจะพิการได้ แรกเริ่มจึงควรนั่งเก้าอี้ก่อน อย่าไปติดยึดว่านั่งขัดสมาธิได้ถึงจะเก่งหรือถึงจะถูก เมื่อนั่งเก้าอี้เจริญอานาปานสติจนบังเกิดความชุ่มชื่นแล้ว คุณจะรู้สึกว่ากล้ามเนื้อผ่อนคลายสบายมาก เพราะร่างกายหลั่งสารดีๆออกมา และจิตก็ไม่ก่ออาการบีบคั้นร่างกายดังเคย ถึงตรงนั้นถ้าเลื่อนขั้นมานั่งขัดสมาธิ ก็จะได้ความสมดุลครบวงจร ตามที่พระพุทธเจ้าแนะว่าอานาปานสติที่สมบูรณ์ ๗) เสียงช่วยกำกับการฝึกอานาปานสติมีประโยชน์อย่างไร? ปกตินักทำสมาธิหรือนักเจริญอานาปานสติมือใหม่ จะจับทิศจับทางไม่ถูก ได้หน้าลืมหลัง ไม่รู้จะเริ่มหนึ่ง สอง สามอย่างไร ถ้ามีเสียงบอกคอยช่วย ก็จะมีประโยชน์ตรงที่ไม่ต้องหลงทาง เหมือนคนเพิ่งฟื้นจากสลบกลางหมอกจัด ถ้ามีใครมาจูงมือและคอยบอกว่าต้องก้าวขึ้นบันไดอย่างไร เตือนให้ช้าหรือเร่งให้เร็วตามความเหมาะสมที่จังหวะไหน โอกาสจะเข้าเขตปลอดโปร่ง ไม่ต้องหลงวกวนค่อยสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม เมื่อจับหลักได้ถูกต้องแม่นยำแล้ว ก็ไม่ควรอาศัยเสียงเป็นเครื่องช่วยกำกับ เพราะเสียงเป็นปฏิปักษ์กับสมาธิจิต ถ้าคอยพะวงฟังเสียงหรือแปลความหมายของเสียงอยู่ จิตก็จะไม่วิเวกเต็มรอบ เข้าถึงฌานได้ยาก ไฟล์เสียงช่วยกำกับการฝึกอานาปานสติจากดังตฤณ แบ่งออกเป็นหลายช่วง จุดประสงค์เป็นไปเพื่อให้ฟังแล้วเข้าใจตลอดสาย ว่าจะดำเนินจิตแบบนับหนึ่ง สอง สาม กันท่าไหน ขณะหนึ่งๆอยู่ตรงขั้นใดของอานาปานสติ และกระทั่งจะนำไปเทียบเคียงกับโพชฌงค์ได้อย่างไร

การแกะสลัก

การแกะสลักจัดเป็นศิลปกรรมแขนงหนึ่งในจำพวกประติมากรรม เป็นการประดิษฐ์วัตถุเนื้ออ่อนอย่างผัก ผลไม้ ที่ยังไม่เป็นรูปร่าง หรือมีรูปร่างอยู่แล้วสร้างสรรค์ให้สวยงามและพิสดารขึ้น โดยใช้เครื่องมือที่มีความแหลมคม โดยใช้วิธีตัด เกลา ปาด แกะ คว้าน ทำให้เกิดลวดลายตามต้องการ ซึ่งงานสลักนี้เป็นการฝึกทักษะสัมพันธ์ของมือและสมอง เป็นการฝึกจิตให้นิ่ง แน่วแน่ต่องานข้างหน้า อันเป็นการฝึกสมาธิได้อย่างดีเลิศ ใบเฟิร์น ผอบจากฝรั่ง รักเร่ รักเร่จากแตงโม ดอกกุหลาบจากฝรั่ง ดอกกุหลาบมอญ ดอกกุหลาบจากมะเขือเทศ แตงกวาสไลด์ กระเช้าแตงกวา ใบไม้แตงกวา 1 ใบไม้แตงกวา 2 ดอกไม้แตงกวา บัวสายจากแตงร้าน2 ใบฉลุ ดอกกระดุมทอง ดอกบัวทอง ทานตะวัน ดอกรวงข้าว ดอกข่า ดอกกุหลาบฟักทอง ดอกบานชื่น
วิธีการถักผ้าพันคอจากไหมพรม เป็นที่ขายดิบขายดีสำหรับเจ้าตัวไหมพรมปอม ปอม ฮ่องกง ที่ เพิ่งนำเข้ามา ถึงแม้ว่าราคาจะสูงไปสักหน่อย แต่ก็เรียกได้ว่าคุ้มค่ากับราคา ด้วยเนื้อไหมที่นุ่ม สีสวย น่าใช้นี่เอง จึงเป็นที่ถูกใจสำหรับสาว ๆ นักถักทั้งหลาย ความจริงแล้ว แม้ใครจะไม่เคยมีพื้นฐานการถักนิตติ้งมาก่อนเลย ก็สามารถถักเจ้าไหมพรมปอม ปอม ตัวนี้ได้ ไม่ยากเลยนะคะ เพราะแม่ค้าเองก็ไม่ถนัดเรื่องงานถักสักเท่าไหร่ แต่ก็ได้เรียนรู้จากเจ้า youtube นี้เป็นหลักเลย เปิดไปด้วย ลองทำไปด้วย ถึงได้บอกได้เลยว่าคนที่ถักไม่เป็นก็ถักได้ ไม่ใช่ว่าจะต้องอาศัยการถักบล็อกไม้อย่างเดียว เพียงแต่เราค่อย ๆ ศึกษา ค่อย ๆ เรียนรู้ เดี๋ยวก็ทำเป็นค่ะ ไม่ยากเลย และด้วยลักษณะของไหมพรมปอม ปอม จะมีขายอยู่หลายขนาดด้วยกัน ลูกเล็ก ลูกใหญ่ ช่วงห่างระหว่างลูกก็ไม่เหมือนกัน ทำให้วิธีการถักก็ต่างกันตามไปด้วย ทางร้านจึงค้นหาธีการถักมาให้ดูอีกแบบ เพื่อให้เหมาะกับไหมพรมปอม ปอม ตัวนี้นะคะ ลักษณะค่ะ ขนาดรังไหม เมื่อเทียบกับเหรียญบาทเล็ก วีดีโอการถักผ้าพันคอจากไหมพรม ปอม ปอม (สังเกตวิธีการถักและชิ้นงานที่ได้นะคะ เม็ดจะเอียงเล็กน้อยค่ะ) ภาพสำเร็จค่ะ

วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2555

การทำความสะอาดบ้าน

กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานบ้าน) รหัส ง 3111 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ผู้สอน นางสารภี พลศักดิ์ เรื่อง การทำความสะอาดบ้านและบริเวณบ้าน การศึกษาเรื่องการทำความสะอาดบ้านและบริเวณบ้าน สามารถแบ่งออกได้ดังนี้ 1. การทำบ้านให้น่าอยู่ บ้านเป็นสถานที่ให้สมาชิกในครอบครัวได้อยู่อาศัยพักผ่อนนอนหลับ ให้ความปลอดภัย ความสบายกายและความสบายใจแก่สมาชิกทุกคนในครอบครัว บ้านแต่ละหลังมีรูปแบบการสร้างที่แตกต่างกันด้วยองค์ประกอบหลาย ๆ อย่าง ลักษณะของบ้านจะเป็นเช่นไร สมาชิกในบ้านก็สามารถทำให้บ้านน่าอยู่ น่าอาศัยได้ ด้วยการเอาใจใส่ดูแลรักษาทำความสะอาดบ้านอย่างสม่ำเสมอ ดังนั้นการทำความสะอาดบ้านให้มีสภาพเรียบร้อย จนเป็นที่สะดุดตาก็สามารถดึงดูดความสนใจให้สมาชิกในครอบครัวไดอยู่อาศัยอย่างมีความสุขมากกว่าบ้านที่ขาดการรักษาความสะอาด หลักในการทำความสะอาดบ้านให้น่าอยู่ 1.1 การทำความสะอาด ความสะอาดเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้บ้านน่าอยู่ การทำความสะอาด ปัดกวาด เช็ดถูเป็นประจำ ทำให้เครื่องเรือนเครื่องใช้ปราศจากความสกปรกแม้แต่บริเวณบ้าน รั้ว สนาม ทางเดินเข้าบ้านสะอาด ร่มรื่น ปราศจากขยะมูลฝอยต่าง ๆ 1.2 การสร้างความสะดวกสบาย จัดแบ่งพื้นที่บริเวณบ้านให้เกิดการใช้สอยที่เป็นสัดส่วน เดินไปมาสะดวกและมีแสงแดดส่องถึง ระบายอากาศได้ดี มีการจัดวางสิ่งของเครื่องใช้อำนวยความสะดวกไว้อย่างเหมาะสม สะดวกในการหยิบใช้และการทำกิจกรรมต่าง ๆ 1.3 การตกแต่งให้สวยงาม นอกจากการจัดวางสิ่งของเครื่องใช้ให้เหมาะสมดังที่กล่าวในข้อที่ผ่านมา การจัดตกแต่งให้เป็นระเบียบ ไม่เกะกะ การจัดวางสิ่งของให้เกิดความสมดุล การใช้สี การตกแต่งผ้าม่าน เพื่อให้ดูสบายตาก็สามารถทำให้บ้านสวยงามน่าอยู่ยิ่งขึ้น 1.4 การจัดบ้านให้เกิดความปลอดภัย การจัดบ้านให้มีความปลอดภัยจากอุบัติเหตุต่าง ๆ เช่น มีลูกกรงที่ระเบียงกันพลัดตกบันไดให้แข็งแรง เก็บยา สารเคมีให้พ้นจากมือเด็ก ทำความสะอาดบ้าน บริเวณบ้านให้ปราศจากตะไคร่จับทำให้ลื่นในขณะทำกิจกรรม ปลูกบ้านห่างไกลจากสิ่งปฏิกูลและแหล่งแพร่เชื้อโรคหรือมีวิธีการป้องกันที่ถูกต้องเหมาะสม ถ้าหากไม่สามารถหลีกเลี้ยงได้ 2. การวางแผนใช้ทรัพยากรในการทำความสะอาด ทรัพยากรในการทำความสะอาดที่มีอยู่ภายในบ้าน ควรคำนึงถึงการวางแผนการทำ ความสะอาดทั้งภายในและภายนอกบ้าน มีดังนี้ 2.1 เวลาที่จะใช้ในการทำความสะอาด 2.2 แรงงานที่จะใช้ในการทำความสะอาด 2.3 วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือที่จะใช้ในการทำความสะอาด การทำความสะอาดทั้งภายในบ้านและบริเวณภายนอกตัวบ้าน จะมีประสิทธิภาพสูงสุด ก็ต่อเมื่อผู้ทำความสะอาดได้วางแผนการทำงานอย่างรอบคอบและรัดกุม ลงมือทำงานตามแผนที่วางไว้ ตรวจสอบการทำงานและประเมินผลการทำงานในทุก ๆ งานที่ได้ทำไป ว่าได้ผลตามที่ต้องการหรือไม่ เพื่อจะได้พิจารณาปรับปรุงทั้งการวางแผนการทำความสะอาดและวิธีการทำงานในคราวต่อไป การวางแผนในการใช้ทรัพยากรที่เกี่ยวกับการทำความสะอาดคือ การใช้เวลา แรงงานและวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือเหล่านี้ช่วยลดความสูญเสียทรัพยากรทั้งสามประการที่ไม่จำเป็นลงได้ 3. การเลือกใช้อุปกรณ์และเครื่องมือในการทำความสะอาดบ้าน อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้และเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เรานำมาใช้ในการทำความสะอาดบ้าน ทั้งภายในตัวบ้านและบริเวณภายนอกตัวบ้านนั้น สามารถแบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ ได้ดังนี้ 3.1 อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการปัดกวาด ได้แก่ – ไม้กวาดดอกหญ้า – ไม้กวาดทางมะพร้าว – ไม้กวาดด้ามยาวหรือไม้กวาดเสี้ยนตาล – ไม้กวาดขนไก่ – ไม้กวาดไม้ไผ่ – เครื่องดูดฝุ่น 3.2 อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการเช็ด ขัดและถู – ผ้าสำหรับเช็ดถู – ฟองน้ำ – แผ่นขัด – แปรงพลาสติก – แปรงกาบมะพร้าว – ไม้ถูพื้นธรรมดา – ไม้ถูพื้นชนิดซักและบิดในตัว

การระบ่ายสีน้ำ

กระดาษสีน้ำ/ สีน้ำ/ สื่อผสมสำหรับภาพเขียนสีน้ำ/ กลวิธีพิเศษในการสร้างพื้นผิวด้วยสีน้ำ/ พู่กันระบายสีน้ำ การระบายสีน้ำ ปัจจุบันเรานิยมเขียนภาพสีน้ำกันอย่างแพร่หลาย ความนิยมในการเขียนภาพสีน้ำเพราะความงดงาม ของสีน้ำที่แสดงให้เห็นถึง มิติของสี ความซับซ้อนของพื้นภาพ และประกายแสง ลักษณะพิเศษเหล่านี้ เกิดจากการระบายที่ประณีตซับซ้อน นอกจากนั้นแล้ว สีน้ำยังมีเสน่ห์ ในการนำออกไประบายยังสถานที่ี่ ต่างๆ เราเพียงแต่มีกล่องใส่สีน้ำหรืออาจจะใช้สีน้ำช่วยระบายเป็นภาพร่างสำหรับการเขียนภาพสีน้ำมัน หรือสีอะครีลิค อัลเบรชท์ ดูเรอร์ เป็นศิลปินคนแรกที่ใช้สีน้ำเป็นสื่อในการแสดงออกเพื่อเขียนภาพสัตว์์ และ ภาพภูมิทัศน์ ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 เมื่อถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 เทอร์เนอร์ เป็นศิลปิน คนแรกในการระบายสีน้ำตามแนวทางศิลปะสมัยใหม่ ปีคริสต์ศักราช 1832 นักเคมีและจิตรกร วิลเลียม วินเซอร์ และ เฮนรี นิวตัน ได้เริ่มต้นธุรกิจ สิ่งที่ทั้ง สองประดิษฐ์คิดค้นขึ้นใหม่ คือ สีน้ำ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในปัจจุบัน คือ สีน้ำบรรจุกล่อง แล้วจึงตามมาด้วย สีน้ำชนิดบรรจุหลอดโลหะในปี ค.ศ.1841 คำแนะนำต่อไปนี้ ได้เตรียมข้อมูลที่หลากหลายสำหรับการระบายสีน้ำ เป็นพื้นฐานการทำงานที่ดี สำหรับผู้เริ่มต้นศึกษา(มือใหม่) สำหรับมืออาชีพ ก็มีคู่มือวัสดุอุปกรณ์ที่เอื้อต่อการสร้างสรรค์์งานศิลปะ ด้วยเช่นกัน กระดาษสีน้ำ/ สีน้ำ/ สื่อผสมสำหรับภาพเขียนสีน้ำ/ กลวิธีพิเศษในการสร้างพื้นผิวด้วยสีน้ำ / พู่กันระบายสีน้ำ

โทษของการเล่นเกมส์

หากเล่นเกมหรืออินเตอร์เน็ตนานๆ จะเกิดผลกระทบหรือโทษได้หลายประการเช่นกัน ได้แก่ โทษต่อสุขภาพกาย เช่น แสบตา, ปวดข้อมือ, ไม่รับประทานอาหาร จนแสบกระเพาะ, อดนอน ตื่นสาย ทำให้เพลีย ง่วงเวลาเรียนหรือเวลางาน เป็นต้น โทษต่อสุขภาพจิต เช่น เกิดความทุกข์ ไม่สุขใจ ขัดแย้งภายในจิตใจหรือขัดแย้งกับผู้คนรอบข้างได้ เพราะหากเล่นเกมและอินเตอร์เน็ต นานๆเข้าเด็กจะเกิดความรู้สึกชอบเอาชนะ เคยชินกับการแข่งขัน ต้องมีแพ้มีชนะ, เคยชินกับการได้ดังใจ เพราะเกมสั่งบังคับได้ มีความสุขหรือรู้สึกสำเร็จเมื่อสั่งได้ดังใจ, ไม่มีวินับ ไม่มีการควบคุมตนเอง ไม่บังคับตนเอง ขาดความรับผิดชอบ เพราะเมื่อเกิดความเพลิดเพลินกับการเล่นเกมแล้ว มักจะไม่ในใจทำอย่างอื่นที่สำคัญ หรือฝ่าฝืนกฎเกณฑ์ ความรับผิดชอบที่มีอยู่ว่าควรทำ หรือไม่ทำอะไร เช่น ไม่อ่านหนังสือ ไม่เข้านอนไม่ทานข้าว ไม่กวาดบ้าน ล้างชามตามหน้าที่ความรับผิดชอบที่มีอยู่ หรือแม้กระทั่งเกิดพฤติกรรมหนีออกจากบ้านหลายวัน ไปกินนอนอยู่ในร้านเกม และการขโมยเงินพ่อแม่เพื่อไปเล่นเกม เป็นต้น โทษต่อสุขภาพ สังคม หรือทักษะทางสังคมของเด็ก เช่น เด็กจะเห็นเพื่อนเป็นศัตรูของความสนุกสนาน เพื่อนมาแย่งเล่น(หมายเหตุ - การละเล่นในอดีต เช่น วิ่งไล่จับ รีรีข้าวสาร มอญซ่อนผ้า ต้องเล่นกับเพื่อน เล่นคนเดียวไม่ได้ เพื่อนคืออุปกรณ์การ จึงต้องรู้จักคบเพื่อน เอาใจเพื่อน ไม่เช่นนั้นเพื่อนไม่เล่นด้วย) จึงไม่อยากคบเพื่อน หรือแม้อยากจะคบแต่ก็คบเพื่อนฝูงไม่ค่อยเป็นเพราะไม่ค่อยได้ฝึก ทำให้ขาดทักษะทางสังคม เพราะเด็กอยู่แต่หน้าจอคอมพิวเตอร์ บางคนอ้างว่าการเล่นเกมออนไลน์ หรือ Chat พูดคุยกันทางอินเตอร์เน็ตก็ได้เพื่อน ซึ่งมีส่วนจริงอยู่บ้าง แต่ว่าความสัมพันธ์ออนไลน์เป็นความสัมพันธ์ในโลกเสมือนไม่ใช่โลกแห่งความ เป็นจริง เพราะเป็ฯความสันพันธ์ที่พูดคุยกัน หรือแสดงความยินดี ความห่วงหาอาทรต่อกันได้มากโดยไม่ได้แสดงข้อเสีย เพราะไม่ได้อยู่ร่วมกันจริงๆ หรือเป็นความสัมพันธ์ที่บางคนไม่ได้แสดงตัวตนที่แท้จริง เป็นเด็กอาจแสดงเป็นผู้ใหญ่ เป็นชายอาจแสดงเป็นหญิง เป็นคนเห็นแก่ตัวอาจแสดงตัวเป็นคนมีน้ำใจก็ได้ เพราะในโลกอินเตอร์เน็ต สามารถแสดงเป็นอะไรก็ได้ไม่มีใครรู้ จึงทำให้เกิดเหตุการณ์ที่คบหากันทางอินเตอร์เน็ตจนสนิทสนมกันแล้วนัดพบ จบลงด้วยการมีเพศสัมพันธ์กันอย่างง่ายดายอย่างที่ได้เห็นเป็นข่าวอยู่เนืองๆ โทษต่อการผลิตผลงานของชีวิต ได้แก่ การเรียนตก เสียการเสียงาน เสียความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง เช่น ในกรณีที่เป็นเด็กอาจเสียความสัมพันธ์กับพ่อแม่ พี่น้อง ส่วนในกรณีที่เป็นผู้ใหญ่อาจเสียความสัมพันธ์กับคู่สามีภรรยาจนเกิดเหตุหย่า ร้างก็มีมาแล้ว หรือ อาจถึงขั้นเสียผู้เสียคร จากการมีพฤติกรรมอันธพาล ขโมยเงิน มั่วสุม เล่นการพนัน ใช้ยาเสพติด หรือมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่เหมาะสม เป็นต้น ทางออกที่ดี คือ ความสมดุล ความสมดุลคือสิ่งที่ดีที่สุด ไม่ใช้คอมพิวเตอร์หรือ อินเตอร์เน็ตเลยคงจะไม่ได้ เพราะชีวิตในอนาคตทั้งการเรียน หรือการทำงานต้องใช้คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต แต่เล่นมากจนติดก็ไม่ดีแน่ จึงควรเล่นแต่พอดีในยามว่างในจำนวนเวลาที่ไม่มากและเราสามารถกำหนดเวลา เล่นเกมหรืออินเตอร์เน็ตได้ เช่น หนึ่งหรือสองชั่วโมง เราอยากจะเล่น หรือเลิกเล่นเมื่อไรก็ได้ ไม่ใช่เกมหรืออินเตอร์เน็ตกำหนดเรา เรียกให้เราเล่น ทั้งๆที่เป็นเวลาที่ไม่ควรเล่น หรือบังคับไม่ให้เราเลิกทั้งๆ ที่เป็นเวลาที่ควรเลิก

การเรียนรู้ภาษาอังกฤษ

ในภาวะปัจจุบันที่อิทธิพลของโลกาภิวัฒน์ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง และยังจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ นั้นการเรียนรู้ภาษาของประเทศอื่นย่อมได้เปรียบในการทำกิจการต่างๆ เพราะคงไม่มีใครจะติดต่อสื่อสารและรู้เรื่องได้ดีเท่ากับการพูดภาษาเดียวกัน เคยมีเรื่องเล่ากันเล่นว่าประเทศไทยที่ค้าขายสิงคโปร์ มาเลย์ ฮ่องกง ใต้หวัน ไม่ได้ก็เพราะว่ามาติดต่อกับประเทศไทยแล้วสื่อสารกันยังไม่ชัดเจนจึงต้องผ่านตัวแทนที่รู้ภาษาดีกว่าเช่นสิงค์โป มาเลย์ ฮ่องกง ใต้หวัน หรือแม้แต่ฟิลิบปินก็ตาม ซึ่งเราจะเห็นว่าประเทศเหล่านั้นล้วนแล้วแต่ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาที่อาจคิดได้ว่าเป็นภาษาสากล หลายประเทศประกาศให้เป็นภาษาราชการอีกภาษาหนึ่ง นอกจากภาษาของตัวเอง แน่นอนว่าประเทศที่ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ภาษาอังกฤษนั้นย่อมทราบดีว่า คนจะเรียนรู้ภาษาให้ซาบซึ้งสามารถใช้ภาษาเข้าสู่สังคมและวัฒนธรรม สามารถใช้ภาษาได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับสังคมวัฒนธรรมตามสถานะการณ์ได้ในทุกทักษะของภาษา และโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่สามารถใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้ดีจะมีโอกาสในการจ้างงาน และได้รับการสนับสนุนส่งเสริมในงานในหน้าที่ให้ยิ่งขึ้นไป มากกว่าผู้ที่ไม่มีทักษะทางภาษาเลย ดังตัวอย่างที่หน่วยงานห้างร้านบริษัท ที่ประกาศรับพนังงาน แต่แนบท้ายด้วยคำว่ามีความสามารถทางภาษาที่สามารถติดต่อสื่อสารได้ นั่นก็คือต้องมีทักษะการฟังและการพูดเป็นอย่างน้อย อันเนื่องจากภาษาอังกฤษมีการใช้กันทั่วโลกมากกว่าภาษาอื่นๆ มีการเรียนการสอนกันทั่วโลกมากกว่าภาษาอื่นจึงคิดให้เป็นภาษาสากลที่ติดต่อสื่อสารได้ทั่วโลก การเรียนการสอนภาษาอังกฤษประการแรกน่าจะใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างกันอย่างเหมาะสมตามสถานะการณ์ เช่นเดียวกับการที่เราเรียนรู้ภาษาแรกจากพ่อแม่ พี่เลี้ยง เป็นการเรียนรู้แบบธรรมชาติ ไม่จำเป็นต้องท่องศัพท์ แปล หรือ รู้หลักไวยากรณ์ ดังนั้นการเรียนการสอนในระดับเริ่มเรียนรู้ภาษานั้น คงต้องเน้นการมีส่วนร่วมทางภาษาให้มากที่สุด คือผู้เรียนต้องเรียนรู้จากการฟังและพูดอย่างเป็นธรรมชาติจนเกิดทักษะ เริ่มจากการพูดในชีวิตประจำวันในครอบครัว แล้วค่อยขยายออกไปสู่โลกภายนอกมากขึ้น เพื่อเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ในการศึกษาขั้นสูงขึ้น การสอนทักษะการพูดและการฟังจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง และผู้สอนอันเป็นต้นแบบจะต้องพัฒนาความรู้ทางภาษาให้ใกล้เคียงกับเจ้าของภาษาให้มากที่สุด มิฉะนั้นแล้วจะเข้าลักษณะแม่ปูสอนลูกให้เดินให้ตรง ในเรื่องนี้ปัจจุบันแม้จะแก้ได้บ้างโดยอาศัยเทคโนโลยี ที่บันทึกเสียงการพูดคุย การออกเสียงที่ถูกต้องไว้ แล้วก็ตาม แต่การแสดงความรู้สึก แสดงอารมณ์ที่เกี่ยวข้องนั้นก็ยังต้องใช้เจ้าของภาษามาเป็นผู้สอนถึงจะทำให้เกิดการเรียนรู้ทางภาษาได้เร็ว การสื่อสารในสถานะการณ์ต่างๆ จะสื่อสารกันได้อย่างน้อยที่สุดก็ต้องฟังรู้เรื่องก่อนแล้วจึงจะทำให้สามารถพูดโต้ตอบได้ หรือพูดได้ พูดเป็น หรือใช้เป็น และเป็นประโยชน์ นอกจากการโต้ตอบแลกเปลี่ยนข้อมูลสารสนเทศกันก็คงรวมไปถึงการเล่าเรื่อง บรรยาย แสดงความคิด ความเห็น ความรู้สึก วิพากษ์วิจารณ์ ซึงก็ต้องมีการประเมินงที่ได้ยินได้ฟังมา จากการวิเคราะห์สังเคราะห์อีกทีหนึ่ง จึงถือว่าสุดยอดในการเรียนรู้ทางภาษา และจากที่ประเทศเรากำลังประสบกับภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจ ตากเศรษฐกิจกระแสโลก และวิกฤติการเมือง กาเรียนรู้ภาษาให้แตกฉานก็เป็นการช่วยบรรเทาภาวะทางเศรษฐกิจในขณะนี้ได้ อันเนื่องมาจากที่รัฐบาลประกาศให้การท่องเที่ยวเป็นวาระแห่งชาติ การเข้าใจเรียนรู้ภาษาต่างประเทศจะทำให้การติดต่อสื่อสารกับชาวต่างประเทศที่จะเข้ามาท่องเที่ยวประเทศไทยดีขึ้น เป็นส่วนหนึ่งในการตัดสินใจให้เข้ามาเที่ยวประเทศไทยมากขึ้น สถาบันการศึกษาที่มีศักยภาพ น่าจะมีส่วนส่งเสริม ช่วยเหลือประเทศในแง่นี้ได้